วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่กับประโยชน์




มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่เป็นผลไม้สมุนไพร ช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอด หัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพอง เบาหวาน ไต เก๊าท์ ไทรอยด์ ช่วยขยายหลอดเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa Carandaslinn
วงศ์ : A pocynaceae
มีชื่อเรียกอื่นๆ : มะนาวไม่รู้โห่ ( ภาคตะวันออก) มะนาวโห่ ( ภาคใต้) หนามขี้แฮด (เชียงใหม่ ): หนามแดง ( กรุงเทพ)
mamuanghd
ผลไม้ชนิดนี้สามารถนำมาปรุงอาหารได้เกือบทุกชนิด คือ สามารถใช้แทนรสเปรี้ยวของมะนาว มะม่วง หรือมะขามได้น้ำเลยละคะ เช่นแกงส้ม หรือผัดเปรี้ยวหวาน ถ้าเป็นแกงส้มก็จะใช้ลูกแก่นำมาผ่าครึ่งแล้วเอาเม็ดออก ล้างน้ำใส่ลงในหม้อที่น้ำกำลังเดือดพอสุกก็นำมายีนิดหน่อย ใส่หม้อกลับไปเหมือนเดิม ก็ใส่เครื่องแกงรับรองไม่ต้องใช้หลายส้มให้ยุ่งยากเลยถ้าเป็นเปรี้ยวหวานก็จะใช้ลูกสุก เพราะจะได้ทั้งสีสันและก็รสเปรี้ยวรับรองอร่อย หากใช้ทำแกงส้มปลาทับทิมใส่มะนาวโห่กับผักบุ้งนิดหน่อยอร่อยไปอีกแบบ ถ้าจะทานผลสด จะมียาง จึงควรเก็บตั้งไว้สัก 2-3วัน ยางก็จะน้อยลง โดยไม่ต้องผ่าทิ้งไว้ เด็ดเอาคั่วออก โดยนำมะนาวโห่มาปั่น ให้ใช้ผลสุกผ่าเอาเมล็ดออกล้างน้ำใส่โถปั่นกับน้ำเชื่อมและเกลือ ปั่นให้ละเอียดแล้วค่อยใส่น้ำแข็งปั่น เราก็จะได้มะนาวโห่ปั่นที่สีสันน่ารับประทานแถมรสชาติเปรี้ยวๆหวานๆ อร่อยสุดๆ ไปเลย หากช่วงอากาศร้อน ทานเข้าไปรู้สึกสดชื่นขึ้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หนามแดงเป็นไม้พุ่มสูง 2-3 เมตร ทรงพุ่มกลม แตกกิ่งจำนวนมาก ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมยาว 2-4 ซม. ทุกส่วนมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามใบรูปไข่กลับโคนใบและปลายใบมนกลม กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-7 ซม. ดอกออกเป็นช่อสีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 1.5-2 ซม. สีชมพู ปลายดอกแยกเป็น 5 กลีบ บิดเวียนเล็กน้อย เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตลอดวัน ออกดอกตลอดปี แต่มีดอกดกในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน เมื่อเป็นผลจะมีผิวสีแดงใส แก่จัด ผลจะเป็นสีดำ
mamuanghlek
มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยธาตุเหล็กและมีส่วนผสมของวิตามินซี (Vitamin C) อยู่มาก มีการใช้เป็นอาหารซ่อมเสริมสำหรับผู้ขาดวิตามินซี ดังผู้ป่วยเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน และบางครั้งสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง (anaemia) ผลที่สุกแล้วจะ มีรสเปรี้ยว เหมาะสำหรับทำผักดอง เมื่อแห้ง มีเปคติน (Pectin) และบดเป็นผง จะเป็นส่วนผสมของอาหารที่ให้ความเป็นเยื่อใย สามารถเป็นส่วนของอาหารพวกเยลลี่ (Jelly), แยม (Jam), น้ำเชื่อม (Syrup) และเครื่องปรุงเติมในอาหาร (Chutney) ให้ได้รสชาติ
ผลไม้สมุนไพร มะม่วงหาว มะนาวโห่ ช่วยรักษาโรคเป็นผลไม้สมุนไพร ช่วยซ่อมร่างกาย รับประทานสด ๆ วันละ 5-7 ลูก สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอด หัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพอง เบาหวาน ไต เก๊าท์ ไทรอยด์
ช่วยขยายหลอดเลือด เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง มีหลายท่านว่ากันว่าอาการป่วยโรคดังกล่าว จะดีขึ้นเรื่อย ๆ และสุขภาพดีขึ้นมาก ๆ
mamuangh
สรรพคุณทางยา
  • เปลือก แก้บิด ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้กามโรค ทำยาอมรักษาแผลในปาก แก้ปวดฟัน พอกดับพิษ
  • ราก ใช้บำรุงธาตุ, ขับพยาธิ, รักษาบาดแผล ,แก้คัน ทำให้เจริญอาหาร ุ ขับพยาธิ บำรุงกระเพาะอาหาร ดับพิษร้อน แก้ไข้
  • ยอดอ่อน รักษาริดสีดวงทวาร
  • ใบ ใช้แก้ท้องร่วง, เจ็บคอ แก้ปวดหู
  • ผล มีรสเปรี้ยวคล้ายมะนาว ใช้ แก้ไอ , แก้โรคลักปิดลักเปิด ฆ่าเชื้อ ขับปัสสาวะ พอกดับพิษ แก้ลักปิดลักเปิด
  • เมล็ด แก้กลากเกลื้อน แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้โรคผิวหนัง แก้ตาปลา แก้เนื้องอก บำรุงไขข้อ บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกำลงั บำรุงผิวหนัง
  • ยาง ทำลายตาปลา กัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาหูด รักษาขี้กลาก แผลเนื้องอก โรคเท้าช้าง
  • น้ำมัน ฆ่าเชื้อ ทาถูนวดให้ร้อนแดง ยาชา รักษาโรคเรื้อน กัดหูด แก้ตาปลา แก้บาดแผลเน่าเปื่อย
mamuanghdok
การบริโภคผลไม้สมุนไพร “มะม่วงหาวมะนาวโห่”
วิธีกินทำเป็นอาหาร
น้ำมะม่วงไม่รู้หาว (ใส่เนื้อแก้วมังกร)
นำผลมะม่วงไม่รู้หาวมาล้างให้สะอาด ผ่าครึ่งเพื่อแยกเมล็ดออกแล้วนำไปต้ม
ส่วนประกอบ
  • น้ำสะอาด 4 ลิตร
  • น้ำตาลทราย ๒ ขีด
  • ผลมะม่วงไม่รู้หาว ๒ ขีด
นำผลแก้วมังกรแดงมาล้างให้สะอาด ผ่าแล้วหั่นเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้วนำไปเชื่อม
ส่วนประกอบคือ
  • น้ำสะอาด 100 ซีซี
  • น้ำตาลทราย ๒ ขีด หากจะทำให้ผู้ป่วยเป็นเบาหวาน จะลดน้ำตาลลงให้พอเหมาะก็ได้
  • เนื้อแก้วมังกรแดง ๒ ขีด
  • น้ำมะนาวคั้น ๑ ผล
ตักแก้วมังกรแดงเชื่อมใส่ก้นขวด แล้วเติมน้ำมะม่วงไม่รู้หาวให้เต็มขวด ทำเป็นเครื่องดื่ม
เครื่องดื่มสมุนไพร น้ำมะม่วงไม่รู้หาว(ใส่เนื้อแก้วมังกร) ทำแล้วใส่ตู้เย็นไว้ดื่มช่วยให้หายอ่อนเพลีย
mamuanghpol
ลูกหนามแดงหรือมะม่วงไม่รู้หาวถ้ามีมากก็ผ่าแล้วตากแห้ง เก็บไว้ใช้เหมือนเก็บกระเจี๊ยบแดง อยากทำเมื่อไหร่ก็นำมาใช้โดยไม่ต้องรอตามฤดูกาล
ภาพและข้อมูลจาก  http://www.monmai.com

ต้นหม่อนกินผล


หม่อนเป็นไม้ยืนต้นจำพวกไม้พุ่ม มีอยู่หลายชนิด ที่มีลำต้นใหญ่ ตั้งตรง มีกิ่งก้านมาก ใบ
เป็นส่วนที่ใช้เลี้ยงไหม ขนาด ความหนา และลักษณะรูปร่างของขอบใบจะแตกต่างกันไป
ตามชนิดของพันธุ์ หม่อนเป็นพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น แต่บางพันธุ์
อาจมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกหม่อนมีลักษณะเป็นกลุ่มเกาะติดกัน
เป็นช่อ เมื่อดอกตัวเมียได้รับการผสมจะเปลี่ยนเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อประกอบด้วย
เมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก
ชื่ออื่นๆ : มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Morus alba Linn.
ชื่อวงศ์ :Moraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร
ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือ
ค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น
ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัด
ด้านล่าง ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบสากคาย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร หูใบรูป
แถบแคบปลายแหลม ยาว 0.2-0.5 เซนติเมตร ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และ
ปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน
วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน
เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก
มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้ ยอดอ่อน
รับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรส หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ ใบใช้
เลี้ยงตัวไหม วัวควายที่กินใบหม่อนทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น


สรรพคุณ
ยาพื้นบ้าน ใช้ ใบ รสจืดเย็น เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำยาต้ม
ใช้อมแก้เจ็บคอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง
แฉะ ฝ้าฟาง ใบแก่ ตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก ใบ แก้ไอ ระงับประสาท หรือ
ต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะฝ้าฟาง ใบ ใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ราก ขับพยาธิ
และเป็นยาสมาน ตากแห้งต้มผสมน้ำผึ้ง ยานี้จะมีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจ
และการมีน้ำสะสมในร่างกายผิดปกติ ใช้แก้โรคความดันโลหิตสูง แขนขาหมดความรู้สึก
กิ่งอ่อน ใบอ่อน แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ใบ น้ำต้มและยาชง มีฤทธิ์เป็นยาชะล้าง ใช้ล้างตาแก้ตา
อักเสบ ใบอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าวใช้วางบนแผล หรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด เป็นยา
ขับเหงื่อ แก้ไอ ยาหล่อลื่นภายนอก น้ำต้มใบใช้กลั้วคอแก้เจ็บคอ ใช้ล้างตา แก้อาการติดเชื้อ
ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอก รักษาแผลจากการนอนกดทับ ผล รสเปรี้ยวหวานเย็น
ต้มน้ำหรือเชื่อมกิน เป็นยาเย็น ยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุไม่ปกติ บรรเทาอาการกระหายน้ำ
แก้โรคปวดข้อ ใช้แก้โรคได้เช่นเดียวกับเปลือกราก ใช้แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต
ดับร้อน ช่วยย่อย และเพื่อความสดชื่น เมล็ด ใช้เพิ่มกากใยอาหาร เปลือก เป็นยาระบาย
และยาถ่ายพยาธิ


ในจีน ใช้ เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ ผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ขับปัสสาวะแก้ไอ
หืด วัณโรคปอด การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ โรคปวดข้อ เปลือกต้น เป็นยาถ่าย และ
ยาขับพยาธิ


องค์ประกอบทางเคมี
ใบ มี carotene, succinic acid, adenine, choline, วิตามินซี ผล มี citric acid, วิตามินซี
เนื้อไม้ มี morin ลำต้น มี steroidal sapogenin เปลือก มี α-amyrin

หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่
  • สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
  • ปลูกและดูแลรักษาง่าย ขอแค่ให้มีน้ำเพียงพอก็ให้ผลแล้ว
  • ให้ผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี เมื่อต้นหม่อนมีอายุ 3 ปีขึ้นไปหลังปลูก
  • ผลผลิตที่ได้ปลอดภัยจากสารพิษ เพราะขณะนี้ยังไม่พบว่ามีความจำเป็นต้องใช้
    สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
  • ผลมีสีแดงสดใสจนถึงสีแดงเข้ม (ผลห่าม) ดุจดังสีทับทิมสยาม สำหรับผลสุกให้สีม่วง
    เมื่อนำไปแปรรูปจะได้ ผลิตภัณฑ์สีสดใส ถูกใจ ผู้บริโภค
การปลูกหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่
เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะสามารถเป็นได้ทั้งไม้ใบและไม้ผล
ปลูกเพื่อผลิตผลหม่อนเชิงพาณิชย์

การเลือกพื้นที่ปลูก
  • ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
  • ดินไม่เป็นกรด หรือด่างมากเกินไป
  • สภาพพื้นดินไม่เคยเกิดการระบาดโรครากเน่าของหม่อนมาก่อน
  • สามารถให้น้ำได้ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ที่หม่อนกำลังติดดอกออกผล
  • พื้นที่คมนาคมสะดวก
  • อยู่ใกล้ตลาดและโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลหม่อน



การปลูกมี 2 วิธี


วีธีที่ 1. การปลูกเป็นแถว
  • ไถดินลึก 30 เซนติเมตร
  • ขุดร่องกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร รองก้นร่องด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
    2-3 ตัน/ไร่ กลบดิน ปลูกหม่อนระยะระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ระหว่างแถว 2-3 เมตร
วิธีที่ 2. ปลูกเป็นหลุม
  • เตรียมหลุดขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 2-4 เมตร รองก้นหลุมด้วย
    ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 3-5 กิโลกรัม
  • ปลูกต้นกล้าหม่อนกลบโคนให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม
การใส่ปุ๋ย
  • ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ (ตามความ
    อุดมสมบูรณ์ของดิน) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
  • ครั้งที่ 2 ต้นฤดูหนาว ใส่ปุ๋ย 50 กิโลกรัมต่อไร่
  • ครั้งที่ 3 เพื่อเพิ่มความหวานใส่ปุ๋ยอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะผลหม่อนเริ่มเปลี่ยน
    เป็นสีชมพูแดง
การให้น้ำ
ต้องให้น้ำหม่อนในระยะติดผล
ให้น้ำในระยะอื่นๆ พิจารณาตามความเหมาะสมเมื่อฝนทิ้งช่วง
การบังคับทรงพุ่ม
เลือกกิ่งสมบูรณ์ไว้ประมาณ 5 กิ่ง/ต้น ตัดไว้ตอช่วงต้นฤดูฝนเพื่อให้แตกกิ่งแขนง สร้างทรง
พุ่มให้แตก
หม่อนจะออกดอกราวเดือนมกราคม-มีนาคม และเก็บเกี่ยวผลหม่อนในช่วงปลายฤดูหนาวถึง
ฤดูร้อน
การเก็บเกี่ยวผลหม่อน
เพื่อบริโภคผลสด ควรเก็บเกี่ยวผลหม่อนสีม่วงแดง หรือสีม่วงดำ
เพื่อการแปรรูป การทำน้ำผลหม่อนที่มีสีแดงควรเก็บเกี่ยวในระยะผลสีแดงม่วงผสมกับสีม่วง
การแปรรูปเป็นไวน์ควรเก็บเกี่ยวในระยะสีม่วงดำ
การเก็บรักษาผลหม่อน
การบริโภคผลสด นำมาบรรจุในกล่องกระดาษเป็นชั้นๆ หนาไม่เกิน 2 ชั้น ทำการปิดกล่องเพื่อ
รอการขนส่งและจำหน่าย
การแปรรูป อาทิ น้ำหม่อน แยมหม่อน ไวน์หม่อน เยลลี่ หากไม่สามารถนำไปแปรรูปได้ทันที
ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ -14 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 12 เดือน


การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาผลหม่อน

การเก็บเกี่ยวผลนับเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกิจกรมภายในสวนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการ
การเก็บรักษาผล การขนส่ง และการตลาด เนื่องจากผลหม่อนมีขนาดผลเล็กและมีระยะ
เวลาสุกของผลไม่พร้อมกันหมดทั้งต้น แต่เป็นการค่อยๆ สุกทีละผลและจะต้องเก็บเกี่ยว
ผลผลิตเป็นระยะเวลานานเป็นเดือน อีกทั้งผลหม่อนเป็นผลไม้ที่มีความบอบช้ำได้ง่าย
ดังนั้นวิธีการเก็บเกี่ยวผลหม่อนจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง จึงขอแนะนำวิธี
การเก็บเกี่ยว ดังนี้
  1. การเก็บเกี่ยวผลเพื่อรับประทานผลสด เมื่อผลหม่อนเริ่มเปลี่ยนสีจากสีแดง
    เป็นสีแดง- ดำหรือสีดำ ก็เก็บผลได้โดยการใช้มือเก็บทีละลูกเนื่องจากผลหม่อนสุก
    ไม่พร้อมกันหากปล่อย ทิ้งไว้จนผลเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำผลจะร่วงลงสู่พื้นดินทำให้
    เก็บเกี่ยวผลผลิต ได้น้อย หลังจากเก็บผลหม่อนมาแล้วนำมาบรรจุในกล่องกระดาษ
    โดยเรียงเป็นชั้น ๆ ไม่เกิน 2 ชั้น ทำการปิดกล่องเพื่อรอการขนส่งและจำหน่ายต่อไป
    หากไม่สามารถขนส่งได้ทันทีควรเก็บไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส
  2. การเก็บเกี่ยวเพื่อการแปรรูป หากต้องการนำไปทำน้ำผลหม่อนที่มีสีแดงก็เลือก
    เก็บเกี่ยวในระยะผลแดง แต่หากต้อการให้น้ำผลไม้มีสีคล้ำก็เก็บผลในระยะสีดำ
    สามารถนำผลหม่อนไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ทันที หากไม่สามารถแปรรูปได้ทันที
    ควรเก็บรักษาไว้โดยบรรจุในถุงพลาสติก หรือ ตะกร้าผลไม้ ในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิ
    ลบ22 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นาน 6 เดือน
การเก็บรักษาผลหม่อน
หม่อน รับประทานผล ผลิตผลหม่อนออกมาในฤดูกาลเป็นระยะเวลาสั้น คือประมาณ 30 -40
วันเท่านั้น ทำให้การนำผลหม่อนไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ จำต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน
เพื่อมิให้ผลหม่อนที่สุกเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการเก็บรักษาผลหม่อนเพื่อให้สามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นระยะเวลา นานมากขึ้นจึงมีความจำเป็นยิ่ง แต่การเก็บรักษา
ผลหม่อนนั้นแตกต่างกันไปตามแต่วัตถูประสงค์ของการนำไปใช้ ประโยชน์ คือ
การเก็บรักษาเพื่อการรับประทานผลสด ควรเก็บผลหม่อนจากต้นในระยะที่มีผลสีแดงเข้ม
แล้วนำมาใส่ภาชนะที่โปร่งวาง ซ้อนกันไม่สูงมากนัก จะสามารถเก็บรักษาผลหม่อนได้เป็น
ระยะเวลา 2 -3 วัน โดยที่คุณภาพของผลหม่อนยังคงเดิม คือมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ซึ่งจะ
มีความหวานประมาณ 8 -10 °Brix. และมีปริมาณกรด 1.7 – 2.0 กรัม /ลิต มีสีสันแดงอมม่วง
หรือดำ หากเก็บรักษาไว้นานกว่านี้จะทำให้ผลหม่อนมีปริมาณกรดน้อยลง และเปลี่ยนสีเป็น
สีดำทำให้ไม่น่ารับประทานสด

เก็บรักษา ในห้องเย็น ควรเก็บรักษาไว้โดยบรรจุในถุงพลาสติกขนาดบรรจุถุงละ 10 กิโลกรัม
หรือบรรจุลงในตะกร้าผลไม้ และนำไปเก็บไว้ที่ห้องเย็นที่มีอุณหภูมิ – 22 องศาเซลเซียสจะเก็บ
ได้นาน 6 เดือน
คุณสมบัติทางกายภาพของผลหม่อนสายพันธุ์เชียงใหม่ สีแดง – แดง –ดำและดำ ที่เก็
รักษาไว้ในอุณหภูมิห้องในระยะเวลาต่างกัน



ผลิตน้ำผลไม้พร้อมดื่มจากผลหม่อน
วัสดุ/อุปกรณ์
ประกอบด้วย ผลหม่อน น้ำตาลทราย น้ำสะอาด ผ้ากรอง กรวย อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น เตา หม้อ ภาชนะบรรจุ เช่น ขวด จุกปิดปากขวด
ส่วนผสม
1) ผลหม่อนสีแดง (แก่แต่ยังไม่สุก) : ผลสีม่วงดำ (สุก) อัตรา 1 : 1 หรือ 1 : 2 จำนวน 1.5 กก.
2) น้ำตาลทราย 1 กก.
3) น้ำสะอาด 4.5 ลิตร
ขั้นตอน/วิธีทำ
  1. นำผลหม่อนล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อและเติมน้ำ ตั้งไฟพอเดือด
  2. จากนั้นเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ นาน 20-30 นาที แล้วกรองเอาเมล็ดและกากออก
  3. รินน้ำที่กรองได้ใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ เติมน้ำตาลและคนให้ละลาย ยกลงจากเตา
    ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น
  4. กรอกใส่ขวดที่แห้งและผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำร้อน และปิดฝาจุกให้สนิท
  5. แช่เย็น เก็บไว้ดื่ม หรือใส่น้ำแข็งดื่ม
ในการทำน้ำผลหม่อน ถ้าใช้ผลสุก (สีม่วงดำ) จะมีรสหวานอย่างเดียว ไม่มีรสเปรี้ยว
ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับด้านประสาทสัมผัส ขณะที่ผลแก่ (สีแดง) จะมีรสเปรี้ยว ดังนั้นจึง
นิยมให้ผลสีแดง : ผลสีม่วงดำ อัตรา 1:1 หรือ 1:2 จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
มากกว่า คือ ได้รสหวานอมเปรี้ยว หากดื่มขณะที่สภาพอากาศร้อน จะดับร้อนผ่อน
กระหายได้ดี และได้กลิ่นของผลหม่อนซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะตัว
ที่มา : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และกองเกษตรเคมี และ นาย วิโรจน์ แก้วเรือง นักวิชาการ กรมหม่อนไหม เกษตรเชี่ยวชาญ จาก http://www.monmai.com



มารู้จัก อัลมอนด์ กันเถอะ


ขึ้นชื่อว่า  อัลมอนด์ คงไม่มีใคร ไม่รู้จักใช่มั้ยคะ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าไอ้เจ้า ถั่วเม็ดแข็งๆ นิ่มๆ
นี่มีคุณสมบัติอะไรบ้าง มีกี่ชนิด แล้วมันจะช่วยให้ผิวเราดีขึ้นยังไง วันนี้เรามาหาคำตอบกัน
อัลมอนด์ ที่เอามากินกันหรือเป็นส่วนผสมของขนมนั้น จริงๆแล้วมีกันอยู่สองชนิดค่ะ


- ชนิดแรก คือแบบ สวีทอัลมอนด์(Sweet Almond)  ซึ่งจะมีดอกสีขาว มีเมล็ดค่อนข้างยาว
อัลมอนด์ ชนิดนี้เราจะเห็นได้บ่อย เพราะว่ามักจะนำมาทานกันน่ะค่ะ
- ชนิดที่สอง คือแบบ บิทเทอร์ อัลมอนด์(Bitter Almond) ซึ่งจะมีดอกสีชมพู มีเมล็ดที่แป้น
และ สั้นกว่า ชนิดแรก


อัลมอนด์ ทั้งสองชนิดจะให้น้ำมันที่ต่างกัน และนำไปใช้ประโยชน์กันคนละอย่างเลย สวีทอัลมอนด์
นั้นจะเหมาะกับที่เอาไปกินมากกว่า เพราะ ว่า สวีทอัลมอนด์นั้นจะให้น้ำมันพืชที่เป็นน้ำมันพื้นฐาน
ที่นำไปปรุงอาหารมากกว่า บิทเทอร์ อัลมอนด์ที่มีสารเคมีที่ต้องระวังปนอยู่ด้วย นั่นก็คือไซยาไนด์(Cyanide) แต่จะมีน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) จำนวนมากปนอยู่ด้วย น้ำมันจาก
บิทเทอร์ อัลมอนด์ จึงนิยมนำมาทำประโยชน์ในเรื่องกลิ่นมากกว่าการเอามาบำรุงผิว แต่
กระบวนการผลิตนั้นต้องมีการกำจัด สารไซยาไนด์ออกก่อนถึงนำไปเป็นส่วนผสมได้นะคะ
จากที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นว่า น้ำมันจากอัลมอนด์ทั้งสองชนิดแตกต่างกันมาก และมีประโยชน์
ที่ต่าง กันโดยสิ้นเชิง โดยที่น้ำมันจากต้นสวีทอัลมอนด์ มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุจำนวนมาก
จึงช่วยในการ ถนอมผิว นอกจากนั้นยังมี ความสามารถในการหล่อลื่น ให้ความชุ่มชื้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกับ ผิวหนังที่แห้ง เป็นน้ำมันที่ซึมซับลงผิวหนังได้ง่ายทำให้เรานำไปใช้ประโยชน์ได้
ทั้งในการนวด และใน เครื่องสำอางที่ใช้กับผิวหน้า ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจึงมีการใช้น้ำมัน
อัลมอนด์ซึ่งมีประโยชน์รอบตัว เป็นฐานในการผสม ซีรั่ม (Serum) และอื่นๆ อีกมากมาย
ในทางตรงกันข้าม น้ำมันจากต้นบิทเทอร์อัลมอนด์นั้นมีลักษณะเป็นน้ำมันหอมระเหย
(Essential Oil) น้ำมันชนิดนี้จะไม่ได้บำรุงผิวแต่อย่างใด ความดีของน้ำมันชนิดนี้ก็คือ
กลิ่นอันหอมหวลของมันนั่นเอง

ภาพจากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลจาก http://women.mthai.com