วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อาร์ติโช๊ค (Artichoke) พืชอาหารและเภสัช (ฉบับรวม)


เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ อาร์ติโช๊ค (Artichoke) จากที่ต่างๆมาไว้ด้วยกัน
อาจจะมีข้อมูลซ้ำกันบ้างต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้เรียบเรียงขึ้นมาใหม่เพราะต้องการ
คงบทความของเจ้าของจากแหล่งเดิมไว้ ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับอาร์ติโช๊ค (Artichoke) 
ทั้งประวัติความเป็นมา สรรพคุณ ลักษณะการเพาะปลูก การทำเป็นอาหารแบบไทยๆ
จากฝีมือของคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ

      ในแต่ละวันมนุษย์เรารับสารพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากซึ่งมา
ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น จากอาหารที่รับประทาน น้ำและ
อากาศที่เราหายใจสารพิษเหล่านี้จะเข้ามาทำลายตับ น้ำดีทำหน้าที่
เป็นตัวเคลื่อนย้ายสารพิษเหล่านี้ออกจากตับไปยังลำไส้ เพื่อขจัดสารพิษ 
ดังนั้นถ้าปริมาณน้ำดีไม่เพียงพอ จะเป็นผลทำให้ทั้งสารพิษและคลอเลส-
เตอรอลอาจยังตกค้างอยู่ในตับและเกิดผลเสีย นอกจากนี้หากการไหลเวียน
ของน้ำดีไม่ปกติอาจทำให้ท่อน้ำดีเกิดอุดตันหรือมี “นิ่วในถุงน้ำดีได้ 
และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ยับยั้งการไหลเวียนของน้ำดี เช่น การดื่มสุรา
 ไวรัสตับอักเสบ สารเคมี และสารเสพติดบางชนิด อีกด้วย

    สรรพคุณของ Artichoke ช่วยในการกำจัดสารพิษ และปกป้องตับนั้น
ได้กลายมาเป็นที่สนใจของนักวิจัยในปี 1966 โดยใช้ทดลองกับหนู พบว่า
การสร้างระบบการทำงานของตับหนูทดลองดีขึ้น งานวิจัยอื่นๆยังพบว่า cynarin 
และกรด caffeic ใน Artichoke มีผลต่อการป้องกันสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อตับ 
สรรพคุณของ Artichoke ที่ช่วยในกำจัดสารพิษ และปกป้องตับนั้น เป็นส่วนหนึ่ง
ที่ทำให้ Artichoke ได้รับการบันทึกว่ามีคุณสมบัติในการต้านสารอนุมูลอิสระ 
(Anti oxidation) ซึ่งคุณสมบัตินี้ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยในปี 2000 ที่ศึกษา
เกี่ยวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์ในสภาวะที่มีความกดดันต่างๆเกิดขึ้น
จะทำให้เกิดอาการ ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดท้อง ท้องผูก และพบว่า ชาArtichoke 
สามารถบรรเทาอาการเหล่านั้นได้ เนื่องจากสรรพคุณของ Artichoke ที่สามารถ
ช่วยในเรื่องระบบการย่อยอาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน อีกทั้งยังช่วย
ทำให้ให้ลำไส้บีบตัวได้ดีขึ้นซึ่งมีผลทำให้ช่วยลดอาการท้องผูก

        สมุนไพร Artichokeมีความปลอดภัยสูงเมื่อรับประทาน ซึ่งในปี 1999
ได้มีการทดลองนำArtichoke มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของตับ
และท่อน้ำดีผิดปกติ รวมทั้งอาการอาหารไม่ย่อย เช่นท้องอืด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ 
และปวดท้อง และเช่นเดียวกันกับการวิจัยอื่นๆ ยังพบอีกว่า 96 เปอร์เซ็นต์ของ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคท้องเสีย ( IBS ) ที่ได้รับการรักษาโดยการให้รับประทานใบของ 
Artichokeสามารถแก้อาการท้องเสียได้ผลดีกว่าการรักษาแบบอื่นๆที่เคยใช้มา
อาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี้มักจะประกอบด้วยน้ำมัน ไขมันอิ่มตัว และปริมาณ
น้ำตาลทรายสูง หรือใช้พืชที่ขาดสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งสิ่ง
เหล่านี้ล้วนเป็นผลทำให้มีปริมาณคลอเลสเตอรอลสูง และเป็นที่มาของโรคหัวใจวาย
และเสียชีวิตในที่สุด ผลการทดลองในระยะเวลากว่า 30 ปีพบว่าใบของ Artichoke 
สามารถลดระดับคลอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์ ในขณะเดียวกันระดับของHDL
(high-density lipoprotein)
ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายก็มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น ในปี 1970 
เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปได้มีการบันทึกถึงคุณสมบัติของ Artichoke 
ในการลดระดับคลอเลสเตอรอล และจากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ซึ่งมีการตีพิมพ์เผยแพร่
ในปี 2000 แสดงให้เห็นจากการทดลองกับผู้ป่วย 143 รายที่มีระดับคลอเลสเตอรอลสูง 
พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับ Artichoke นาน 6 สัปดาห์ มีระดับคลอเลสเตอรอลโดยรวม
ลดลง 10-15%เมื่อเทียบสัดส่วนของ ไขมันLDL( low density lipoprotein) ต่อไขมันHDL 
(high density lipoprotein)
ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถหยุดรับประทานอาหารขยะ(junk food)ขณะนั่งดู TV หรือ
เลิกดื่มเบียร์กับเพื่อนๆได้ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ตับต้องรับภาระทำงานหนักโดยตลอดและ
ทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้น แม้เราจะรู้ดีว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นอันตราย
ต่อสุขภาพ แต่ก็เป็นการยากที่จะเปลี่ยน โชคดีที่เรามี ชาสมุนไพรArtichoke ที่เป็น
ทางออกสำหรับผู้บริโภคอาหารประเภทไขมัน และ แอลกอฮอล์ เนื่องจากArtichoke 
มีสรรพคุณที่ช่วยในการทำงานของระบบการย่อยอาหาร บำรุงและปกป้องการทำงาน
ของตับ รวมถึงการลดระดับคลอเลสเตอรอล

สรรพคุณ

  • ขจัดสารพิษและปกป้องตับ
  •  มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ลดการลงพุง(โรคอ้วน)
  • ป้องกันท้องผูก
  • ป้องกันและช่วยรักษาโรคตับและถุงน้ำดี
  • ช่วยการทำงานของระบบการย่อยอาหาร
ข้อมูลจาก http://www.tea-dee.com

.......................... 

ชาอาร์ติโช๊ค

อาร์ติโช๊ค Artichoke  บำรุงตับ ไต ถุงน้ำดี

อาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus L.) เป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ เฉพาะภูเขาสูง
มากกว่า 1,500 เมตร เท่านั้น ปี 2513 นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป ได้ค้นพบสารไซนาริน ” 
มีคุณค่าทางอาหารและยา นำมาบริโภคสด หรือปรุงอาหารได้ทุกส่วน หรือนำมาสกัดสาร
ไซนาริน(Synarin) รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี” ในยุคโบราณอาร์ทิโชกเป็น
อาหาร และยารักษาโรคของชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมัน และเป็นเมนูอาหารที่สำคัญ
ในทุกงานเลี้ยงของกรุงโรม นอกจากจะเป็นอาหารเสริม แล้วยังมีสรรพคุณทางยา ดังนี้

1. ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่
ในการสกัดสารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระแสโลหิต สร้างน้ำดีและน้ำย่อย และ
เปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารอาหาร ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

2. กระตุ้น การสร้างน้ำดีของตับ ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดไขมัน (Chloresteral) 
ในเลือด ช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน

3. เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยสร้างน้ำดีป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งมักเกิดจาก
การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ 
มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก

4. ช่วยป้องกันตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน และโรคตับแข็ง (Cirrhosis) ใน
ประเทศบราซิล อาร์ติโช๊ค เป็นยาสมุนไพรพื้นฐาน ที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของตับ และ
โรคอื่นหลายโรค ได้อย่างกว้างขวาง เช่น โรคโลหิตจาง เบาหวาน ไข้ รักษาบาดแผล 
และเกาส์

5.ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือดอุดตัน ทั้งยังช่วยรักษาความดันโลหิตสูง  ถือว่าเป็น
พืชที่ดีต่อหัวใจ เพราะช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานดี ช่วยทำความสะอาด
หลอดเลือด ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันการเกิดหัวใจวาย



6.อุดมด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยป้องกันมะเร็ง และชะลอความชรา  อาร์ติโช๊ค
มีสารไฟโตนิวเตรียนต์ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจ ช่วยชะลอ
ความชรา ช่วยฟื้นฟูเซลล์เนื้อเยื่อตับ

7.ลดไขมันเลว LDL เพิ่มไขมันดี HDL และลดไตรกลีเซอไรด์ได้โดยไม่มีผลร้ายต่อตับ
จากสารไซนารินที่มีอยู่ในอาร์ติโช๊ค

8.ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด แม้ชาอาร์ติโช๊คจะมีรสหวาน แต่คนเป็นเบาหวานสามารถ
ทานได้ เพราะมีสารอินนูลินปริมาณสูง เป็นสารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ เหมาะสำหรับคนเป็น
โรคเบาหวาน เมื่อทานแล้วช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าเดิม

9.ลดอาการบวมน้ำ ดีต่อผู้ป่วยโรคไต  อาร์ติโช๊คมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จึงช่วยบรรเทาอาการ
ของโรคระบบทางเดินปัสสาวะ และทำให้น้ำไม่คั่งในร่างกาย ลดอาการบวมน้ำ และบวมตาม
อวัยวะต่างๆ ซึ่งดีต่อผู้ป่วยโรคไต ทั้งยังช่วยลดความดันเลือด

10.ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบ และโรครูมาตอยด์  เนื่องจากอาร์ติโช๊คมีคุณสมบัติในการ
ขจัดสารพิษ จึงมีการนำไปใช้รักษาอาการข้ออักเสบ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มานานแล้ว

11.แก้อาการท้องเสียและลำไส้แปรปรวน  

12.ช่วยลดน้ำหนัก  เนื่องจากอาร์ติโช๊คช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดี จึงช่วบเสริมการย่อยสลาย
ไขมันในร่างกายได้ดีขึ้น ระบบการย่อยก็มีประสิทธิภาพดีขึ้น รวมไปถึงระบบขับถ่ายดีขึ้น
ข้อมูลจาก  http://spathaishopping.com/

.................................

มหัศจรรย์ อาร์ติโชค

ผักเมืองหนาวชนิดใหม่เริ่มให้ผลผลิต หลังโครงการหลวงทดลองปลูกกว่า 20 ปี พบ
ช่วยลดคอเลสเตอรอล บำรุงตับ-ถุงน้ำดี อร่อยได้หลายเมนู
เมืองไทยพัฒนาไปตามยุคสมัย มีตึกสูงใหญ่มีรถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน แต่ยังคงเป็น
ประเทศเกษตรกรรม คนไทยจึงโชคดีมีผักผลไม้นานาชนิด ให้กินตลอดปีมีพืชผักสมุนไพร
พื้นบ้านที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงริเริ่มโครงการหลวง เมื่อปี พ.ศ.2512 วันนี้คนไทยจึงมีโอกาส
ได้กินผักผลไม้เมืองหนาวที่เพาะปลูกในประเทศ รวมถึงพืชมากคุณค่าอย่าง อาร์ติโชค
(Artichoke)
ว่ากันว่าอาร์ติโชคถูกค้นพบมานานกว่า 3,000 ปี เป็นทั้งอาหารและยารักษาโรคของชาว
อียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมันในยุคโบราณ ลำต้นของอาร์ติโชคสูงประมาณ 1-2 เมตร มี
ใบสีเขียวส่วนดอกมีลักษณะเป็นกลีบแข็งซ้อนกันแน่นหลายชั้น เป็นพืชพื้นเมืองของ
แอฟริกาเหนือ สามารถปลูกได้ทั่วไปในแถบอากาศเย็น เช่น เมดิเตอร์เรเนียน ยุโรป 
ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ โครงการหลวงได้เริ่มทดลองปลูกอาร์ติโชคมาตั้งแต่
ปี พ.ศ.2528

"วันนี้โครงการหลวงมีพืชทั้งหมดมี 215 ชนิด แบ่งเป็น พืชผัก สมุนไพร และไม้ผลส่งเสริม 
พืชผัก 149 ชนิด ที่โดดเด่นได้แก่ สลัดแก้ว สลัดคอส มะเขือเทศ เซเลอรี่ พืชตระกูลสลัด 
สลัดรวม ข้าวโพดหวาน 2 สี ฟักทองญี่ปุ่น แตงกวาญี่ปุ่น พริกหวานสีเขียว เหลือง แดง 
มะเขือเทศเชอร์รี ต้นหอมญี่ปุ่น มีสมุนไพร 50 ชนิด ที่โดดเด่น ได้แก่ โรสแมรี่ ลาเวนเดอร์ 
ชาสดสมุนไพร และไม้ผลส่งเสริม 16 ชนิด ที่มีผลผลิตในช่วงนี้ได้แก่ พลับ อาโวคาโค 
และเสาวรสรับประทานสด สำหรับอาร์ติโชคเริ่มทดลองปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 ที่ศูนย์
พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย โดยนำพันธุ์มาจากสหรัฐอเมริกา มีลักษณะดอกสีเขียว
ทรงกลมขนาดใหญ่" คุณ อรรถกร บุญสิริ หัวหน้าฝ่ายการตลาด โครงการหลวง 
เล่าให้ฟัง

วิธีการปลูกอาร์ติโชค คุณอรรถกร บอกว่า เริ่มจากการเพาะกล้าโดยใช้เมล็ดพันธุ์มาเพาะ
แบบประณีตในถาดหลุมเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยจะเพาะกล้าในช่วงเดือนมิถุนายน 
จากนั้นย้ายปลูกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ให้ปุ๋ยบำรุงต้นทุกเดือนประมาณ
 6-7 ครั้ง และจะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ใช้เวลาในการปลูก
ประมาณ 6 เดือน จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
"ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 900-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มูลนิธิโครงการหลวงมีผลผลิตรวม
ประมาณ 5,000 กิโลกรัมต่อปี โดยจะมีผลผลิตในช่วงเดือน  มีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
เท่านั้น ผลผลิตสดจะส่งจำหน่ายตามร้านอาหารและโรงแรม และมีการแปรรูปเป็นชา
อาร์ติโชคและคุกกี้อาร์ติโชค"

คุณประโยชน์ที่ทำให้หลายคนยกให้อาร์ติโชคเป็น 'ผักมหัศจรรย์เนื่องจากสามารถใช้ได้
ตั้งแต่ดอก ลำต้น หน่อ และราก อาร์ติโชคขนาดกลางหลังจากต้มแล้วมีแคลอรีต่ำกว่า 
60 แคลอรี สีสรรพคุณช่วยระบบการย่อยอาหาร ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือแก๊สใน
กระเพาะอาหาร เป็นแหล่งอาหารให้กับแบคทีเรียดีในลำไส้เล็ก

สาร ไซนาริน ในอาร์ติโชคสามารถสกัดมาเพื่อใช้บำรุงสุขภา ช่วยบำรุงและกระตุ้นการ
ทำงานของตับ กระตุ้นการสร้างน้ำดีของตับ ลดไขมันในเลือดและคอเลสเตอรอล ช่วยให้
ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานได้ดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน เสริมสร้างการทำงาน
ของถุงน้ำดี ป้องกันถุงน้ำดีอักเสบและตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่านและโรค
ตับแข็ง มีคุณสมบัติลดโดยไม่ทำลายตับ

อาร์ติโชคมีสาร ฟลาโวนอยด์ ช่วยบำบัดอาการตับอักเสบเรื้อรัง มีสาร อินนูลิน ซึ่งเป็น
แป้งรูปแบบหนึ่งทำให้ย่อยยากกว่าปกติส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างช้าๆ เหมาะ
สำหรับคนเป็นโรคเบาหวานช่วยให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าเดิม นอกจากนี้อาร์ติโชค
ยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะทำให้น้ำไม่คั่งในร่างกายและลดความดันเลือดได้

"ถือว่าเป็นผักมหัศจรรย์เพราะว่าดีกับตับและไต ดีกับตับเพราะมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการ
ตับอักเสบเรื้อรัง ดีกับไตคือช่วยในการขับถ่ายของเสียทำให้ไตสะอาด และดีกับคนเป็น
โรคหัวใจโรคเบาหวานเพราะช่วยลดคอเลสเตอรอล น้ำตาล และไขมันในเลือด สรรพคุณ
อีกอย่างคือช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เรียกได้ว่าดีทุกอย่างแต่บ้านเราอาจจะถือว่าเป็นผักที่ยัง
รู้จักน้อยอยู่" คุณ ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตล์ลิสต์ จาก ขาบสตูดิโอ (KARB STUDIO) 
บอก "อาร์ติโชคที่ดีจะอยู่ที่ประมาณอายุไม่เกิน 120 วัน ควรจะเป็นดอกตูมไม่บาน หลังจาก
ซื้อมาควรจะตัดส่วนก้านให้เหลือประมาณ 1 ฟุตแล้วใส่ถุงแช่ในตู้เย็นแต่เวลาตัดต้องระวัง
ไม่ให้หน้าดอกช้ำ เวลาจะทานก็ตัดก้านออกให้เหลือประมาณ 1 นิ้ว ตัดปลายดอกออก
ประมาณ 1 นิ้ว และตัดส่วนปลายกลีบดอกที่เป็นหนามออก เอาตัวดอกไปต้มในน้ำเดือด
ประมาณ 30 นาที หรือนึ่งก็ได้ ถ้าต้มจะต้องใส่น้ำมะนาวเพื่อให้ไม่ดำ เอาส้อมจิ้มๆ ดูพอสุก
แล้วก็เทน้ำทิ้งปล่อยให้เย็น คว่ำดอกลงให้สะเด็ดน้ำ ดึงกลีบดอกออกมาตรงโคนของกลีบ
จะมีเนื้อเอาไปจิ้มกับเนยละลายทานได้เลยมีรสมันกลิ่นหอม"

อาร์ติโชคใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารและแปรรูปได้หลากหลาย คุณสุทธิพงษ์เป็น
ผู้นำชาอาร์ติโชคของโครงการหลวงมาแปรรูปเป็น คุกกี้อาร์ติโชค

คุกกี้อาร์ติโชค
ส่วนผสม
เนื้ออาร์ติโชค   200 กรัม (ชาอาร์ติโชค 6 ซอง)
แป้งสาลีสำหรับทำเค้ก 500 กรัม
เนยสด    250 กรัม
ไข่ไก่    1 ฟอง
น้ำตาลทรายขาว  200 กรัม
ผงฟู    1 ช้อนชา
เกลือ    1/2 ช้อนชา

วิธีทำ
 -นำเนยสดใส่เครื่องผสมตีด้วยความเร็วปานกลาง ประมาณ 7-10 นาทีจนเนยเป็น
ครีมขาว ค่อย ๆ ใส่น้ำตาลทรายและเกลือลงไป จากนั้นตอกไข่ใส่ลงไปตีต่อจน
ส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อครีม
 -ใส่เนื้ออาร์ติโชคบดแห้งที่แช่น้ำร้อนจนนิ่ม พร้อมกับแป้งสาลีที่ผสมกับผงฟู ตีผสม
พอเข้ากัน
 -นำส่วนผสมที่ได้มานวดต่ออีกที แบ่งแป้งเป็นส่วนๆ นำมาคลึงให้เป็นแผ่นหนา
ประมาณ 0.5 เซนติเมตร
 -นำพิมพ์มากดเป็นรูปต่างๆ ใส่ถาดนำเข้าอบที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ใช้
เวลาประมาณ 25 นาทีจนสุก นำออกจากเตาอบพักไว้ให้เย็น พร้อมรับประทาน


"อาร์ติโชคทำได้ทุกอย่างทั้งอาหารคาวและอาหารหวานแต่ส่วนมากคนจะใช้ทำอาหาร
คาว ทำอะไรได้บ้าง สลัด ตัวโคนกลีบเอาไปจิ้มกับเนย ตัวของดอกเล็กๆ ก็เอาไปชุบ
แป้งทอด ทำซุปใส่กับพวกมันฝรั่ง เอาไปบดทำสเปรดทากับแซนด์วิช สารพัดเลยแต่ว่า
ผมไม่ทำอาหารคาวทำเป็นขนมหวานเป็นคุกกี้

ใช้ชาอาร์ติโชคซึ่งโครงการหลวงใช้ส่วนลำต้น ใบ และกลีบดอกมาตากแห้งอบแล้วสับ
ละเอียดทำเป็นชาซึ่งดีมาก ผมเคยไปที่เมืองดาลัท ประเทศเวียดนาม ชาอาร์ติโชคถือว่า
สุดยอด เขาปลูกแล้วทำเป็นชาส่งออกไปประเทศฝรั่งเศส"

 ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของโครงการหลวงมาโดยตลอด คุณสุทธิพงษ์ บอกว่า
"นับเป็นโชคดีที่เราอยู่ในประเทศไทยมีในหลวงเป็นผู้ริเริ่มโครงการ อย่างที่หม่อมเจ้า
ภีศเดช รัชนี บอกว่า พระองค์ท่านไม่ได้มีเรื่องดำริอย่างเดียวแต่ทรงลงมือทำด้วย ซึ่ง
เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนไทยและช่วยให้คนไทยหันมาบริโภคสิ่งที่มีคุณค่าและมี
ประโยชน์ ที่สำคัญคนไทยจะมีสุขภาพกายที่ดีโรคภัยไม่มาเยี่ยมเยียน โครงการหลวง
นอกจากจะมีผักยังมีของตกแต่งบ้านด้วย ผมจะไปร้านดอยคำใกล้บ้านมีดอกไม้มี
ของแห้งขึ้นอยู่กับฤดูกาล แต่ละฤดูก็จะมีไม่เหมือนกัน ผมถือว่าโชคดีที่ได้ใช้บริการ
โครงการหลวง"
ข้อมูลจาก  http://www.bangkokbiznews.com

............................

อาร์ติโชค พืชอาหารและเภสัช
โดย ศักดา ศรีนิเวศน์
สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

อาร์ติโชค (Cynara scolymus)นิยมปลูกในหลายประเทศมีชื่อสามัญเรียกหลายภาษา
เช่น ภาษาอังกฤษ เรียก “Globe artichoke”, และ ภาษาบราซิลเรียก alcachofra” เป็นต้น
 เป็นพันธุ์ไม้ในตระกูล (Family) Asteraceae , สกุล (Genus) Cynara ชนิด (Species)
 scolymusเป็นพืชที่มีคุณค่าทางยาสามารถบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหารหรือนำมา
สกัดสารไซนาริน(Synarin) รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี นิยมบริโภคมานาน
กว่าศตวรรษแล้ว ทุกส่วนของต้นอาร์ติโชคสามารถนำมาทำประโยชน์ได้ทั้งหมดมี
รายงานการพบ สารไซนาริน ซึ่งเป็นสารสำคัญในอาร์ติโชค โดยนักวิทยาศาสตร์
ชาวยุโรปเมื่อปี คศ. 1970 ในยุคโบราณ อาร์ติโชคเป็นอาหาร และยารักษาโรค 
ของชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาร์ติโชคเป็นเมนูอาหาร
ที่สำคัญในทุกงานเลี้ยงของกรุงโรมปัจจุบันปลูกเพื่อเป็นการค้าในหลายประเทศทั่วโลก 
ซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารเสริมแล้วยังมีสรรพคุณทางยาดังนี้

1. ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่
ในการสกัดสารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระแสโลหิต สร้างน้ำดีและน้ำย่อย และ
เปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายจากอาหารที่
รับประทานเข้าไป

2. กระตุ้น การสร้างน้ำดีของตับ ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดไขมันหรือครอเลสเตอรอล
ในเลือดได้ดี ช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานได้ดี ป้องกันสภาวะหลอดเลือดอุดตัน

3. เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยสร้างน้ำดีป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งมักเกิดจาก
การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี ลดอาการท้องอืด
 ท้องเฟื้อ เรอเหม็นเปี้ยว มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก
4. ช่วยป้องกันตับอักเสบ อันเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน (Jaundice) และโรคตับแข็ง
(Cirrhosis)นอกจากนี้ ในประเทศบราซิล อาร์ติโชคจัดว่าเป็นยาสมุนไพรพื้นฐานหรือ
ยาพื้นบ้าน ที่ใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยของตับโดยเฉพาะ และโรคอื่นหลายโรค 
ได้อย่างกว้างขวางเช่น โรคโลหิตจาง เบาหวาน ไข้ รักษาบาดแผล และเกาส์

ลักษณะของอาร์ติโชค

ลำต้นมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1 - 2 เมตร ใบมีสีเขียว ดอกมีสีเขียวแกมม่วงดอกมี
ลักษณะเป็นหัวมีกลีบซ้อนกันหลายชั้นคล้ายหัวกะหล่ำปลี ดูเผินๆ คล้ายดอกบัวหลวง 
มีอายุตั้งแต่ปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 1 ปี


การเพาะปลูกอาร์ติโชค
1. ดิน ดินที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกอาร์ติโชคต้องเป็นดินที่อุ้มน้ำ และระบายน้ำได้ดีมี
ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรีย์วัตถุไม่น้อยกว่า 5 – 7 % ในช่วงฤดูแล้งความชื้น
ในดินต้องไม่ต่ำกว่า 80% เพราะอาร์ติโชคเป็นพืชที่มีใบค่อนข้างใหญ่การคายน้ำของใบ
จึงสูง ในช่วงฤดูฝนหากน้ำในดินสูงเกินไปจะเป็นอันตรายต่ออาร์ติโชคที่มีอายุน้อยหรือ
ต้นอ่อนอาร์ติโชคเป็นพืชชอบขึ้นในดินที่ค่อนข้างเป็นด่าง มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 6.5 
ดังนั้นหากในพื้นที่ดินมีคุณสมบัติเป็นกรด เกษตรกรควรปรับลดความเป็นกรดของดินด้วย
การใส่แคลปูนขาว และแคลเซี่ยมคลอไรด์ก่อนจึงค่อยปลูกอาร์ติโชค

2. ภูมิอากาศ ภูมิอากาศที่เหมะสมสำหรับการปลูกอาร์ติโชค ต้องมีอากาศเย็นตลอดปี
อยู่เหนือกว่าระดับน้ำทะเลไม่น้อยกว่า 1,200 เมตรอาร์ติโชค เป็นพืชที่ต้องปลูกในพื้นที่
ที่มีแสงแดดจัด ราก ใบ ลำต้น และดอก จึงจะมีการเจริญเติบโตที่ดี สม่ำเสมอ และสะสม
สารที่มีสรรพคุณทางยาได้มาก

เทคนิคการปลูกอาร์ติโชค
1. พันธุ์ พันธุ์อาร์ติโชคที่ใช้ปลูกแบ่งออกตามลักษณะการใช้บริโภค คือ
1.1 พันธุ์ที่นิยมบริโภคดอกเป็นหลัก ลำต้นมีลักษณะเตี้ย ทรงพุ่มมีขนาดเล็ก ระยะปลูกชิด 
ปลูกได้ปริมาณต้นมาก มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น
1.2 พันธุ์ที่บริโภคใบเป็นหลัก มีลักษณะลำต้นสูง ทรงพุ่มใหญ่ อายุการเก็บเกี่ยวที่ยาวนาน 
ใบมีขนาดใหญ่ ระยะปลูกห่าง เป็นพันธุ์ที่มีสารไซนารินในใบมากที่สุด
1.3 พันธุ์ที่บริโภคดอกและใบเป็นหลัก มีลักษณะความสูงของลำต้นขนาดกลาง ทรงพุ่ม
ขนาดกลาง เป็นสายพันธุ์ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส ที่นิยมปลูกมีด้วยกัน 3 พันธุ์
 คือ A. 75 (ก่อนปี ค.ศ. 1975) A.80 (พันธุ์ลูกผสม ปี ค.ศ. 1980)และ A.85 (ปี ค.ศ. 1985) 
พันธุ์ A.85 เป็นสายพันธุ์ที่มีคุณลักษณะดีที่สุด ให้ผลผลิตสูง ดอกที่เก็บเกี่ยว
สดสามารถเก็บไว้ได้นาน ทนทานต่อการขนส่ง แต่มีข้อเสีย คือ ไม่ค่อยต้านทานโรค และ
เพาะขยายพันธุ์ได้ยาก โดยทั่วไปเกษตรกรจะนิยมปลูกพันธุ์ที่บริโภคดอกมาก เพราะดอก
ของอาร์ติโชคพันธุ์นี้ มีคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยาสูงที่สุด

2. การขยายพันธุ์อาร์ติโชค มี 3 วิธี คือ
2.1 การใช้เมล็ดปลูก ส่วนมาก เป็นพันธุ์ลูกผสม ระยะเพาะปลูกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง 
เดือนเมษายน โดยการคัดเลือกเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ออกด้วยการแช่น้ำ คัดเอาเมล็ดที่ลอยน้ำ
ออกทิ้ง หลังจากนั้นจึงคลุกด้วยสารเคมีที่ป้องกันเชื้อราและจึงหว่านเมล็ดลงในถาดเพาะ
หรือแปลงเพาะ ดินที่ใช้เพาะเมล็ดต้องผสมปุ๋ยหมักในอัตรา ดิน 3 ส่วน : ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน 
เมื่อเมล็ดงอกแล้วต้นมีขนาดสูงประมาณ 1 – 2 นิ้ว ให้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นต้นอ่อนเพื่อกระตุ้นให้
เจริญเติบโต เร็วขึ้นโดยใช้ปุ๋ยสูตร 16 – 8 – 13 ต้องคอยหมั่นดูแลแมลงศัตรูพืช และควร
ใช้ตาข่ายคลุมแปลงเพาะเมล็ดด้วย
2.2 การใช้พันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะสามารถขยายพันธุ์ได้ใน
ปริมาณที่มาก ลำต้นมีขนาดเท่าๆ กัน มีการเจริญเติบโตเท่ากัน ให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้
พร้อมๆ กัน แต่เป็นวิธียุ่งยากสำหรับเกษตรกรและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
2.3 การปลูกโดยใช้หน่อ เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมใช้มาก แต่ต้องเลือกหน่อที่ดีสมบูรณ์มา
ทำพันธุ์ และนำหน่อที่ได้ชุบสารเคมีป้องกันเชื้อรา และหอยทาก (เป็นศัตรูที่สำคัญของ
อาร์ติโชค เมืองดาลัท) แปลงเพาะชำต้องใส่แคลเซียมคลอไรด์และคอบเปอร์ซัลเฟต
คลุกเค้าผสมกับดิน แล้วจึงชำหน่อลงในแปลงเพาะชำกล้าที่มีขนาด 1.2 – 1.3 เมตร 
โดยการชำเป็นแถว 4 – 5 แถวต่อแปลง ระยะต้นห่างประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร 
หลังจากนั้นจึงใช้หญ้าหรือฟางแห้งคลุมแปลงเพาะชำและให้น้ำวันละ 2 เวลา หลังจากนั้น 
7 – 10 วันจึงเอาหญ้าหรือฟางแห้งที่คลุมแปลงออก ใช้ปุ๋ยสูตร 16 – 8 – 13 ฉีดพ่น 
โดยในขณะคลุมแปลงฉีดพ่นประมาณ 2 ครั้ง อย่าใช้ปุ๋ยยูเรียมากเกินไป เพราะจะทำให้
หน่อพันธุ์อวบอ้วนเกินไป อ่อนแอเป็นโรคง่าย หลังจากนั้นควรหมั่นตรวจสอบติดตาม
สถานการณ์ศัตรูพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียอย่างสม่ำเสมอ 
และถอนหน่อกล้าพันธุ์ที่ตายหรือเป็นโรคออกจากแปลงไปทำลาย ระยะเวลาเพาะชำ
พันธุ์กล้าประมาณ 1 เดือน
 3. การปลูก
ระยะที่เหมาะสมในการปลูก ช่วงเวลาแรก ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน มิถุนายน
หรือ ช่วงที่สอง ประมาณเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนสิงหาคม
การปลูกในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับ
การปลูกอาร์ติโชค เพื่อนำใบมาใช้ประโยชน์ทางยา
อย่าปลูกต้นกล้าอ่อนในช่วงฤดูฝนหรือปลูกในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี เพราะจะทำให้
อาร์ติโชคเป็นโรครากเน่า โคนเน่า
ไม่ควรปลูกอาร์ติโชคหลังเดือนสิงหาคม

4. การเตรียมแปลงปลูกอาร์ติโชค
ต้องเลือกพื้นที่ที่ดินอุ้มน้ำ และระบายน้ำได้ดี ดินที่ปลูกหากเป็นดินที่มีสีแดงหรือสีเหลือง
จะดีมาก และควรปลูกอาร์ติโชคในแปลงที่มีการปลูกพืชหมุนเวียน เช่นปลูกผักต่าง ๆ 
ไม้ดอก และพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
ทำแปลงปลูกให้สะอาดด้วยการเก็บวัชพืชและเศษพืชออกจากแปลง
ใส่ปูนขาวหรือปูนมารล์ และแคลเซี่ยมคลอไรด์ เพื่อปรับสภาพดิน
ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยฟอสเฟต เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นอาร์ติโชค
ทำแปลงปลูกเป็นหลังเต่า ยกแปลงปลูกให้สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 20 - 25เซนติเมตร
ทำร่องระบายน้ำ ระหว่างแปลงปลูกหรือแถวปลูกกว้างประมาณ 1 หรือ 2 เมตร
ระยะปลูก ปลูกถี่ ระยะระหว่างต้น 65 – 70 เซนติเมตร ปลูกห่าง ระยะระหว่างต้นประมาณ 
80 – 90 เซนติเมตร ก่อนปลูกควรแช่ต้นกล้าหรือหน่อพันธุ์กล้าในสารเคมีป้องกันและจำกัดเชื้อรา
ประมาณ 5 นาที แล้วจึงปลูกตรงกลางแปลงที่ทำเป็นหลังเต่า หลังจากปลูกจึงคลุมด้วยหญ้าหรือฟาง
ลดน้ำวันละ 2 ครั้งหลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ จึงเอาหญ้าหรือฟางออกจากแปลงปลูก
หมั่นตรวจดูแปลงปลูก โดยหลังจากปลูกแล้ว 10 – 15 วัน ให้ปลูกซ่อมต้นที่ตาย
การปลูกอาร์ติโชคไม่ควรปลูกเป็นพืชเดี่ยว เนื่องจากอาร์ติโชคเป็นพืชที่มีอายุการเก็บ
เกี่ยวนาน ควรปลูกอาร์ติโชครวมกับพืชผักชนิดอื่นๆ เช่น กล่ำปลี ผักกาดต่างๆ เป็นต้น

5. การดูแลรักษา
5.1. การให้ปุ๋ย

ไม่ควรให้ปุ๋ยยูเรียมากเหมือนเช่นผักต่างๆ แนะนำให้ใช้ปุ๋ยที่ทำจากปลา หรือปุ๋ยกลุ่มคลอไรด์ 
(KCL)
การให้ปุ๋ยยูเรียควรให้ในปริมาณพอสมควร (อย่ามากเกินไปเด็ดขาด) ในช่วงตั้งแต่ปลูกจน
ระยะออกดอกเท่านั้น หลังออกดอกแล้วไม่ต้องใส่
ปุ๋ยฟอสเฟตดีสำหรับรากและดอกอาร์ติโชค ช่วยให้ต้นแข็งแรงไม่หักล้มได้ง่ายทนความ
แห้งแล้ง
ปุ๋ยโปแตสเซี่ยมช่วยให้ได้ผลผลิตสูง- ปุ๋ยแคลเซี่ยมช่วยรักษาสมดุลของ pH ในดินแล
ะความคงทนของดอกอาร์ติโชคในการขนส่งอัตราส่วนปุ๋ยที่ใช้อาจปรับเปลี่ยนไปได้ตาม
สภาพของดิน ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดินความหนาแน่นของการปลูก หรืออาจใช้
ปุ๋ยที่ทำมาจากปลาหรือปุ๋ยทางใบทั่วไปก็ได้ก็จะดีมาก

5.2. การดูแลให้น้ำ

ในช่วงฤดูแล้งเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคม ควรให้น้ำดังนี้
น้ำที่ให้ต้องเป็นน้ำสะอาด
ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคมเป็นช่วงที่อาร์ติโชคออกดอก มีความ
ต้องการน้ำสูง ควรให้น้ำมากเป็นพิเศษหลังจากนั้นจึงลดปริมาณลง
หลังจากหมดฤดูฝนแล้วควรขุดดินในร่องระบายน้ำขึ้นพูนโคนต้น อย่าขุดลึกเกินไปเพราะ
อาจไปกระทบรากได้
เก็บใบที่เหี่ยวแห้ง หรือเน่าทิ้ง

5.3. โรคที่สำคัญของอาร์ติโชค
โรคใบจุด และวงแหวนสีน้ำตาล (Brow spot , ring spot) พบมากในช่วงอากาศร้อน
และมีความชื้นสูง
การป้องกันและกำจัด ใช้หลายวิธีร่วมกัน คือ
ใช้พันธุ์ที่ต้านทานโรคสูงปลูก
ทำแปลงปลูกยกให้สูง
ปลูกโดยใช้ระยะปลูกที่ห่างมากขึ้น
เก็บใบหรือต้นที่ตายออกเผาทำลาย
ปรับการให้ปุ๋ยให้เหมาะสม
ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัด เช่น สกอร์ 250 EC.หรือสารเคมีกลุ่มคาร์เบนคาซิม
ในช่วงที่ฝนตกเป็นเวลายาวนาน และมีแสงแดดน้อยควรเพิ่มจำนวนครั้งของการ
ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อรามากขึ้น
โรคเน่าคอดินต้นกล้า (Yong Plant Damping - Off desease) โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจาก
ภาวะที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค เช่น ดินมีความชื้นสูงเกินไปหรือมีน้ำท่วมขัง
การป้องกันและกำจัด คือ
คัดเลือกต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ปลูก
แช่ต้นพันธุ์กล้าในสารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อราก่อนนำไปปลูกนาน 3 – 5 นาที
ถอนต้นกล้าที่เน่าเสียออกไปทำลายใส่แคลเซี่ยมครอไรด์ (CaCL 2 ) และจุนสี (CuSo 4 )
 เพื่อปรับปรุงดินก่อนปลูก
เตรียมแปลงปลูกให้สะอาดหลังการเก็บเกี่ยว
พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น Rovral 50 wp หรือพวกกลุ่มเบ็นโนมิล
โรคเน่าเละ (Bacterial Softrot) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการที่พบคือ 
ลำต้นจะเน่าในขณะที่ใบยังเขียวเป็นปกติอยู่
การป้องกันและจำกัด
ปลูกพืชผักชนิดอื่นๆ แซม อาร์ติโชค
คัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีลักษณะแข็งแรงสมบูรณ์
ขณะที่เคลื่อนย้ายต้นกล้าลงแปลงไม่ควรทำให้รากต้นกล้าเสียหาย
ปลูกอาร์ติโชคในแปลงที่สูงระบายน้ำได้ดี
ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อแบคทีเรียฉีดพ่น เช่น วาสิดาซิน
โรคใบบิดเกลียว , แคระแกรน (Twist leaf disease, stunting disease) เป็นโรคที่เกิด
จากเชื้อไวรัส โดยมีแมลงเป็นพาหะนำโรค อาการที่สังเกตุเห็นได้ง่ายคือ ใบมีอาการบิด
เกลียวและลำต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต
การป้องกันและจำกัด
จัดทำแปลงปลูกให้สะอาด
ใช้พันธุ์ที่ปลอดโรค เช่น พันธุ์ปลอดโรคที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
ถอนทำลายต้นที่เป็นโรค
ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงที่เป็นพาหนะนำโรค ตามความเหมาะสม เช่น
ไซเปอร์เมทซิน แลนเนท 40 SP หรือ ทรีบอน 10 EC เป็นต้น

5.4.แมลงศัตรูที่สำคัญของอาร์ติโชค
หนอนกระทู้ (Army Worm) เป็นศัตรูที่สำคัญทำลายอาร์ติโชคในทุกระยะ
การป้องกันและจำกัด
ไถและตากดินให้แห้งก่อนปลูก
ใช้สารเคมีใส่ในดิน เช่น ไวบาซู 10 lt และ รีเจนท์ 0.36
ใช้สารกำจัดแมลงฉีดพ่นบริเวณโคนต้น
เพลี้ยอ่อน (Aphid) เป็นแมลงดูดินน้ำเลี้ยงทำลายอาร์ติโชคทุกระยะ
การป้องกันและจำกัด
ดูแลรักษาแปลงปลูกให้สะอาดนำเศษพืชผักที่ตกค้างในแปลงออกให้หมด
ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเพลี้ยอ่อน
หนอนชอนใบ (Leafminer) ทำลายใบของอาร์ติโชคในทุกระยะ
การป้องกันและจำกัด
ตัดทำลายใบอาร์ติโชคที่ถูกหนอนชอนใบทำลาย
ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดหนอนชอนใบ

5.5. สัตว์ศัตรูที่สำคัญ
หอยทาก (Slug) หอยทากทำลายอาร์ติโชคโดยการกินใบ ต้น และราก ในขณะที่ต้น
อาร์ติโชคยังอ่อนอยู่
การป้องกันและจำกัด
ใช้เหยื่อพิษสำหรับกำจัดหอยทาก

การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปอาร์ติโชค
อาร์ติโชคเป็นพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวนับจากวันปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวยาวนาน ถึง 1 ปี โดยไป
ใบอาร์ติโชคสามารถเก็บเกี่ยวตั้งแต่อายุ 90 วัน หรือ 3 เดือนขึ้นไป แล้วนำมาล้างให้สะอาด
 อบแห้งหรือตากแห้ง แล้วนำไปบริโภค
ดอก เก็บเกี่ยวเพื่อนำมารับประทานสด หรือหั่น/สับเป็นชิ้นเล็กตากแห้งทำเป็นชา
- ลำต้น เมื่อตัดดอกแล้วนำลำต้นมาหั่น/สับแล้วตากแดดให้แห้งทำเป็นชา
หน่อ เก็บหน่อ 2 – 3 หน่อ/ต้น เพื่อใช้ทำเป็นกล้าพันธุ์ โดยนำมาเพาะชำแล้วจึงนำไป
ปลูกต่อไป
ราก หั่น/สับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วตากแดดให้แห้งทำเป็นชาการเก็บผลิตภัณฑ์อาร์ติโชคที่
แห้งแล้วควรเก็บในถุงตาข่ายในลอน เพื่อป้องกันความชื้น ซึ่งจะทำให้เกิดเชื้อราและเสียหาย
ในประเทศเวียดนามส่วนใหญ่จะบริโภคอาร์ติโชคในรูปบริโภคสดและหั่นตากแห้งทำเป็น
ชาชงดื่ม มีจำหน่ายทั่วไป แหล่งปลูกอาร์ติโชคในประเทศเวียดนามมีแห่งเดียวที่ผลดีที่สุด
คือ เมืองดาลัท จังหวัดลามดอง ซึ่งตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลถึง 1,600 เมตร บริเวณเดียวกับ
ประมาณจังหวัดตราดของประเทศ มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส

อาร์ติโชค นอกจากจะปลูกในอเมริกาเหนือ/ใต้ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆในยุโรปแล้ว
ประเทศอิสราเอลเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ปลูกมากและเป็นสินค้าในรูปอาหารเสริมบำรุงสุขภาพ
ที่ทำรายไได้ให้กับประเทศอิสราเอลปีละไม่ใช่น้อยเลย
สำหรับประเทศไทยปัจจุบันอาร์ติโชคยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก ในอดีตเคยมีผู้นำมา
ทดลองปลูก แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ประกอบกับคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จัก
อาร์ติโชค ในขณะที่อาร์ติโชคเป็นพืชที่ตลาดโลกมีความต้องการสูงมีราคาดี และ
ประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากกระแสของโลกในยุคปัจจุบัน
ที่ผู้บริโภคตระหนักถึงเรื่องคุณภาพชีวิตและอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาร์ติโชค 
จึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรไทย ที่อยู่บนดอยสูง น่าหันมาปลูกให้มากขึ้น หากพื้นที่
เพาะปลูกมีความเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง:
1.The Cultivation Technique of Dalat Artichoke /Vietnam
2.hhtp//www.diaghose-me.com/treal/T13/461.html
3.hhtp//www.rain-tree.com/artichoke.htm
 ข้อมูลจาก  http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/plantlist/artichoke.htm
…………………..
เมนูแปลกๆ กับผักสวยแปลก...อาร์ตีโช้ก

ตามสัญญา วันนี้จะพาเข้าครัวไปเรียนทำอาหารอิตาเลียน สูตรพิเศษประจำครอบครัว
กับคุณแม่สามีของดิฉันค่ะ เราจะทำอาหารจากผักสวยแปลกนี้ ที่ไม่แน่ใจว่ามีขายที่
บ้านเราหรือยัง น่าจะมีเพราะเห็นมีร้านอาหารฝรั่งพรึ่บพรั่บที่เมืองไทย แต่ถึงหาไม่ได้
ก็น่าจะดัดแปลงกับผักที่บ้านเรามีได้จริงไหมคะ อาร์ติโช้กเป็นผักพื้นเมืองแถบ
เมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะดอกจะหุ้มด้วยเปลือกแข็งๆ สีแดง ม่วง แต่บางพันธุ์มีสีเขียว 
วิธีการกินอาร์ตีโช้กที่นิยมและง่ายก็คือ ต้มกับน้ำมะนาวแล้วแกะกินทีละเปลือก 
แทะส่วนนิ่มๆตรงฐานกลีบดอก ใช้จิ้มมายองเนสหรือฮอลแลนเดสซอส ไม่ก็จิ้ม
น้ำมันมะกอกผสมมะนาวและกระเทียมนิดหน่อย อร่อยที่สุดคือส่วน "ใจ" รสชาติ
จะมันๆคล้ายหน่อไม้นิดๆ แต่ผักที่บ้านเรามีให้รสคล้ายอาร์ตีโช้กคือหัว"แก่นตะวัน" 
หรืออีกชื่อคือ "เยรูซาเลมอาร์ตีโช้ก" นั่นเอง มาดูเมนูง่ายๆวันนี้กันค่ะ วันนี้เราทำ
อาร์ตีโช้กอบพาร์มีซาน โดยไม่ใช้เตาอบค่ะ

 ส่วนผสม
อาร์ตีโช้กม่วงขนาดเล็ก ๓ - ๔ หัว เลือกที่อ่อนๆ
ชีสพาร์มีซาน๑๕๐ กรัม
เกล็ดขนมปัง๑๕๐ กรัม
พาร์สเล่ย์แห้งสักหยิบมือ
กระเทียมปอกเปลือก ตัดครึ่งกลีบ
เกลือ พริกไทย น้ำมันมะกอก
น้ำเปล่า

เริ่มจากลอกเปลือกแข็งๆของอาร์ตีโช้กออก จนถึงกลีบนิ่มๆบางๆ

ตัดปลายยอดออก เกลาฐานดอกให้เกลี้ยงสวย

ผ่าครึ่ง คว้านไส้กลางออก แล้วแช่น้ำที่บีบมะนาวครึ่งลูกไว้
เสร็จแล้วก็คลุกส่วนผสม ชีส เกล็ดขนมปัง พาร์สเล่ย์ เกลือนิดเดียว
เพราะชีสพาร์มีซานเค็มอยู่แล้ว คลุกให้เข้ากัน 
ใช้ซีกหนึ่งของอาร์ตีโช้ก บีบน้ำออก ใส่กระเทียมตรงกลางดอก ก่อนอัดส่วนผสมแห้งตาม
พยายามเติมส่วนผสมแห้งในช่องว่างระหว่างกลีบดอก

วางเรียงในหม้อที่มีน้ำมันมะกอกรองพื้นอยู่

พอทำครบก็ราดหน้าแต่ละชิ้นด้วยน้ำมันมะกอก แล้วก็เติมน้ำในหม้อพอท่วมครึ่งดอก
ไม่ต้องมิด ปิดฝา เปิดไฟกลางประมาณ ๑๕ นาที ก็จะได้อาร์ตีโช้กอบหอมกรุ่นออกมาแบบนี้

เสิร์ฟเป็นออร์เดิฟ ก่อนจานหลัก จิบไวน์แดงแกล้ม อร่อยนักแล

ปิดท้ายด้วยภาพที่คุ้นตาสำหรับทุกครอบครัว...แม่ที่รัก...ที่เข้าครัว ทำอาหารอร่อยๆให้ลูกๆทาน
Mille Grazie a Rosanna!
ข้อมูลจาก  http://www.oknation.net

…………………………………….
คุณค่าแห่ง อาร์ติโชค (artichoke)


อาร์ติโชค (artichoke) เป็นพืชล้มลุกอายุยืนหลายปี สายพันธุ์เดียวกับทานตะวัน 
เป็นพืชต่างประเทศชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ รู้จักกันทั่วไปก็คือ เยรูซาเลม 
อาร์ติโชค (Jerusalem artichoke) แพร่พันธุ์สู่ประเทศจีนจากการนำเข้ามาของชาวยุโรป 
ชาวจีนเรียกว่า หยางเจียง ขิงฝรั่ง หรือ เผือกเบญจมาศ ประเทศไทยเพิ่งนำเข้ามาปลูกวิจัย
 ตั้งชื่อว่า แก่นตะวัน
ส่วนที่นำมาบริโภคนั้นคือเหง้า ซึ่งเป็นส่วนของลำต้นที่สะสมอาหารลึกลงไปในดิน 
เรียกกันว่า หัว มีรูปทรงกลมออกรีเหมือนกับหัวเผือก แต่ทว่ามีรูปสันฐานไม่แน่นอน
คงที่ อาจจะมีรูปทรงบิดเบี้ยวแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ มีผิวเปลือกเป็นสีแดง
 เหลือง หรือขาว เนื้อเนียน และกรอบ แต่ไม่นิยมกินสดเพราะรสชาติไม่อร่อยลิ้น 
ดอกสีเหลืองคล้ายดอกบัวตอง ที่ขึ้นอยู่ทางภาคเหนือในประเทศไทย 

ประเทศจีนได้มีการปลูก อาร์ติโชคกันมานานแล้ว ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารของมนุษย์
 และใช้เป็นพืชสมุนไพรบำรุงร่างกาย

อาร์ติโชค เป็นพืชที่มีคุณค่าเอนกอนันต์ ทุกส่วนของมันนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทั้งหมด 
หัวของมันประกอบไปด้วย กรดอะมิโนหลายชนิด น้ำตาล และไวตามินอีกหลายตัว นำมา
บริโภคสดหรือปรุงสุกก็ได้ นำมาบดเป็นแป้ง ผลิตน้ำตาล แอลกอฮอล์ ยา อาหารเสริมบำรุง
สุขภาพ ใบและหัวของมันใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ด้วย น้ำตาลในหัวอาร์ติโชคนั้น
ส่วนใหญ่จะเป็น ฟลุกโตส ที่เหมาะกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะ-
ลำไส้ เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่ดีของจุลินทรีย์ Lactobacillus และ Bifidobacteria

ทำให้มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมามีกลิ่นและแก๊สแอมโมเนียลดน้อยลง สารในหัวอาร์ติโชคยัง
ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Coliform, Salmonella, E. coli และ Clostridium mujme. 
ที่ทำให้เกิดโรคบางอย่างได้ และยังใช้เป็นสารต้านโรคมะเร็ง ลดความอ้วน
ได้อีกด้วย

ข้อมูลจาก  http://www.naturnova.com
credit: http://www.eco-agrotech.com
 ………………………….

ยำอาร์ติโช้ค


เครื่องปรุง - อาร์ติโช้ค
 4-5 หัว
-
 หมูสับ 2 ช้อนโต๊ะ
-
 ต้นหอม ผักชีซอย 2 ช้อนโต๊ะ
-
 ผักชีฝรั่งซอย 1 ช้อนโต๊ะ
-
 พริกป่น 2 ช้อนชา
-
 น้ำปลา มะนาว เกลือ



วิธีทำ ลอกเอากลีบนอกของอาร์ติโช้คออก จนเหลือแต่ใจ ผ่าสัก
 4 ส่วนนำไปต้มจนสุก 
เอาหมูสับต้มกับน้ำอาร์ติโช้คพอขลุกขลิก ให้สุก ซอยอาร์ติโชคให้ละเอียด หรือจะเอา
ลงโขลกกับครกเลยก็ได้ คราวนี้เอาทุกอย่างคลุกเข้าด้วยกัน ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย
 ใส่น้ำปลาและมะนาวตามใจชอบ

หมายเหตุ เมนูนี้เหมาะมากสำหรับคนที่มีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย หรือ
เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ทั้งที่ยังไม่ได้ผ่าตัดและผ่าตัดแล้ว เพราะอาร์ติโช้คแก้อาการได้ดี 
แถมเมนูนี้มีไขมันต่ำ ไม่เป็นภาระของตับที่ต้องย่อยไขมันให้ลำบาก
มีอีกหลายเมนูคะเอามาลอกกลีบนอกออกเหลือเเต่ใจข้างในทานกับผัดไทยเเทน
หัวปลีก็ได้ หาซื้อได้ที่ฟูดเเลนก็มีจ้ะ
อาร์ติโชค (Artichokes) มีประโยชน์มากๆค่ะ
 สวัสดีค่ะเพื่อนๆพี่ๆทุกๆคน ดอกอาร์ติโชค (Artichokes) หรือในภาษาสวีดิส เรียกว่า
 kronärtskocka มีประโยชน์มากมายคุณรู้ไหม?
วันนี้เอาดอกอาร์ติโชคมาต้มแล้วมาจิ้มน้ำพริกกะปิกินอร่อยดีค่ะ โดยเฉพาะลูกสาว 
ซึ่งไม่ค่อยจะชอบกินผักก็กินจนหมดดอกเลยค่ะ
เวลาต้มเสร็จแล้ว จะเด็ดกลีบออกมาทีละกลีบ แล้วมากัดตรงโคนๆกลีบ รูดออกมา 
อร่อยดีจัง วันนี้ต้มไม่นาน กินไปเหมือนกินถั่วที่ต้มแล้วเลยค่ะ โดยเฉพาะตรงกลาง
หลังจากกินไปสักพักจะรู้สึกหวานในคอ ไม่รู้ว่าที่เมืองไทย มีขายไหมค่ะ? ถ้าเพื่อนๆ
เคยเห็นว่าสามารถหาซื้อที่ไหนได้ก็แวะมาบอกด้วยนะค่ะ
ป้องกันโรคตับ ป้องกันโรคไต บำรุงตับ บำรุงไต ถุงน้ำดี สารต้านอนุมูลอิสระ
Artichoke (ATISO)
 อาร์ติโช๊ค
อาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus)
 เป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ เฉพาะภูเขาสูง
มากกว่า 1,500 เมตร เท่านั้น ปี 2513 นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป ได้ค้นพบสารไซนาริน 
 มีคุณค่าทางอาหาร และยา นำมาบริโภคสด หรือปรุงอาหารได้ทุกส่วน หรือนำมา
สกัดสารไซนาริน(Synarin) รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี ในยุคโบราณ
อาร์ติโช๊คเป็นอาหาร และยารักษาโรคของชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมัน และ
เป็นเมนูอาหารที่สำคัญในทุกงานเลี้ยงของกรุงโรม นอกจากจะเป็นอาหารเสริม แล้ว
ยังมีสรรพคุณทางยา ดังนี้
1.
 ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่
ในการสกัดสารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระแสโลหิต สร้างน้ำดีและน้ำย่อย 
และเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารอาหาร ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
2.
 กระตุ้น การสร้างน้ำดีของตับ ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดไขมัน (Chloresteral) 
ในเลือด ช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
3.
 เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยสร้างน้ำดีป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งมักเกิด
จากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี ลดอาการ
ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก
4.
 ช่วยป้องกันตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน และโรคตับแข็ง (Cirrhosis) 
ในประเทศบราซิล อาร์ติโช๊ค เป็นยาสมุนไพรพื้นฐาน ที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วย
ของตับ และโรคอื่นหลายโรค ได้อย่างกว้างขวาง เช่น โรคโลหิตจาง เบาหวาน
 ไข้ รักษาบาดแผล และเกาส์
ที่มา: http://www.agric-prod.mju.ac.th/
………………………
อาร์ติโช๊ค สารต้านอนุมูลอิสระ 
กินผักผลไม้ต้านโรค
ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พืชผักมีประโยชน์ เป็นแหล่งที่มาของวิตามิน และเกลือแร่สำคัญ
 ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ทั้งยังช่วยต้านโรคร้ายไม่ให้กร้ำกราย
ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ พบว่า อาร์ติโช๊ค มีสาร
ต้านอนุมูลอิสระ 8.5 มิลลิโมล (Millimole หรือหน่วยวัดค่าต้านอนุมูลอิสระ
ต่อ 100 กิโลแคลอรี่)

โดยมีผลดังนี้
1.
 แบล๊กเบอรี่ 9.8 มิลลิโมล
2.
 อาร์ติโช๊ค 8.5 มิลลิโมล
3.
 กะหล่ำปลีสีม่วง 7.4 มิลลิโมล
4.
 สตรอเบอรี่ 6.8 มิลลิโมล
5.
 พริกหวานแดง 5.9 มิลลิโมล
6.
 เชอร์รี่ 5.0 มิลลิโมล
7.
 ราสป์เบอร์รี่ 4.5 มิลลิโมล
8.
 ผักโขม 3.9 มิลลิโมล
9.
 บลูเบอรี่ 3.8 มิลลิโมล
ที่มา วารสาร
 Health & Cuisine ฉบับเดือนตุลาคม 2550
ข้อมูลจาก  http://www.smethai.com/
………………………
อาร์ติโชค (Artichoke
ส่วนประกอบ: ดอก ลำต้น และราก อาร์ติโช๊ค

สรรพคุณ: ช่วยบำรุง และกระตุ้นการทำงานของตับ ไต ถุงน้ำดี
ลดไขมันในเส้นเลือด ลดอาการเจ็บท้อง สำหรับสตรีมีประจำเดิอน
อาร์ติโชค(Artichokes)..I really fall in love with you!!!...
เมื่อพูดถึงอาร์ติโชค (Artichokeแรกๆเวลาไปซุปเปอร์มาร์เก๊ต จะเข้าไปดูใกล้ๆ
และไม่ซื้อ..คงแปลกและทำไม่เป็น..ถึงได้เดินเลยไปอย่างไม่สนใจจะซื้อมาลองดู
เท่าไหร่ แต่ได้เคยลองบ้างเล็กน้อย นานมาแล้ว ที่พี่เขยเค๊ากินอยู่แล้วบอกว่า
อร่อยดี ก็ลองไปนิดหน่อย เพราะเกรงใจ เลยไม่ค่อยได้รสชาดอะไรเท่าไหร่ 
แล้วก็ลืมไป.. 
                                       
เมื่อไม่นานมานี้ได้ลองซื้อมาด้วยตัวเอง 4 ดอก ประมาณ 6 เหรียญ ก็ตั้งใจไว้แล้ว
ว่าต้องลองทำดู เพราะเคยอ่านบทความเรื่องการเริ่มปลูกอาร์ติโชคที่โครงการหลวงฯ 
ภาคเหนือ ซึ่งทราบมาว่ามีประโยชน์หลายอย่างแต่จำไม่ค่อยได้ ก็เลยอยากลอง
อย่างจริงจัง

ประวัติ
อาร์ติโชค ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ใบเขียว ดอกสีเขียวแกมม่วง มีกลีบแข็ง
ซ้อนๆกันหลายชั้น ปลายกลีบมีหนามแหลมคม เหมือนกับจะอยู่ในตระกูลเดียวกับ

ดอกทานตะวัน แต่เรานำมากินเป็นผัก botanical name= Cynara scolymus คน
ค้นพบและนำมากินเป็นอาหารกว่า
 3,000 ปีแล้ว จากโรม ไปอิตาลี หลังจากนั้น
Catherin deMediciจากอิตาลี ซึ่งแต่งงานกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ของฝรั่งเศส เป็น
ผู้ริเริ่มนำมาปลูกในฝรั่งเศส ต่อไปยัง อังกฤษ และเข้ามาอเมริกาโดยนักบุกเบิก

จากฝรั่งเศสและอิตาลี ซึ่งที่แคลิฟอเนียเป็นแหล่งเพาะปลูกเพื่อการค้าแหล่งเดียว
ของอาร์ติโชคทั้งหมดในอเมริกา
จากวิกิพิเดีย บอกไว้สั้นๆว่า อาร์ติโชคเป็นพืชเมืองหนาว ถิ่นกำเนิดในยุโรป
เขตเมดิเตอเรเนียน มีสรรพคุณทางยา เรียกภาษาอังกฤษว่า Globe artichoke
ส่วนบราซิล เรียก "alca chofra"
                        
วิธีทำและรับประทาน
บางคนก็ชอบแบบย่างอย่างภาพที่เห็นข้างบน artichoke recipes ดองในน้ำส้มสายชูและ
น้ำมัน
 (pickled)แบบดองจะเปรี้ยวจี๊ด ลองแล้วไม่ค่อยจะถูกปากเท่าไหร่  แต่ดิฉันเองชอบ
แบบต้ม
 (อาจใช้วิธีนึ่ง ไมโครเวฟ จากในวิดีโอที่ลิงก์ไว้) ดูง่ายๆ เลยถามวิธีจัดการเจ้าดอก
อาร์ติโชคจากเพื่อนๆที่นี่ เธอบอกว่าให้ตัดกลีบที่ปลายมีหนามออกประมาณหนึ่งนิ้ว
และนำไปต้มน้ำ ใส่เกลือก็ได้ไม่ใส่ก็แล้วแต่ จนใกล้ก้านนิ่มเวลาเอาส้อมจิ้มดู น่าจะ
ประมาณ
 20-30 นาที แล้วแต่ขนาดดอก ก็เลยลองทำดู ก็ได้ออกมาสมใจคือนิ่ม
แต่สีไม่ค่อยสวยงามออกเหลืองคล้ำ เพราะมีกรดระเหยออกมาตอนต้ม อาจไม่ปิดฝา
ก็ได้ ก็ไม่เป็นไรไม่สนใจสีสัน ลองกินดูดีกว่า..
                                                                                           
จริงๆแล้วควรตัดตรงหัวออกไปเลยประมาณ 1-2 นิ้วเหมือนในภาพข้างบนที่ผ่าครึ่งดอกนี้
ทำครั้งแรกยังไม่ค่อยเก่ง...แฮ่ะๆ..
กัดตรงกลีบส่วนที่ติดกับฐาน ตรงกลางจะมีเนื้ออยู่ระหว่างกลางไปทีละกลีบ รสชาดก็อร่อย
เค็มเล็กน้อยโดยไม่ได้เติมเกลือ มันๆ เนื้อมีส่วนคล้ายๆมันฝรั่ง
 แกะกินทีละกลีบจนถึง
ตรงกลาง หน้าตาเป็นอย่างนี้
ก็ต้องขูดเอาเกสรตรงกลางออก ใช้มือหยิบก็ได้ เพราะเค๊าบอกว่ากินไม่ได้ บางคนกินแล้วจะคัน
คงไม่อร่อยด้วย ก็จะเจอฐานดอก
 นี่แหล่ะที่เค๊าเรียกว่า "Artichoke heart" เป็นหัวใจของดอก
ที่รอกินอย่างเต็มที่ก็ตรงนี้ ส่วนใหญ่จะจิ้มกับมายองเนส หรือ บัลซามิควินิก้า โดยส่วนตัวชอบ
ไม่จิ้มอะไรเลย รสก็อร่อยแบบเรียบๆ เค็มเล็กน้อย มันๆคล้ายมันที่ไม่สุกมาก
 แต่ที่ประทับใจ
สุดๆคือ เมื่อกินจบ ดื่มน้ำตาม จะให้รสหวานเคลือบอยู่ที่ลิ้นด้านข้างไปทั่ว
 ให้ความรู้สึก
เดียวกับเวลากินมะกอกสด แต่มะกอกสดเวลากินจะเปรี้ยวและขมทรมานกว่าเจ้านี่มากนัก
แต่พอดื่มน้ำตามจะหวานไปทั้งลิ้นคล้ายๆกัน..แต่ก็แปลกใจเหมือนกันว่า ทำไม เพื่อนๆ
ที่กินกันประจำไม่เคยรู้สึกตรงนี้ หรือเค๊าไม่สังเกตกัน..(อาจเป็นไปได้ว่าเค๊าจิ้มมายองเนส
กันทำให้ไม่รู้รสชาดที่แท้จริงของมัน)
   Artichoke heart
มาดูประโยชน์ของอาร์ติโชคกันดีกว่า
แคลอรี่ต่ำ 60 calories สำหรับขนาดกลางหลังต้มแล้ว
ช่วยเรื่องการย่อยอาหาร ลดท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือแก๊สในกระเพาะอาหาร
แหล่งอาหารให้กับแบคทีเรียดีที่อาศัยในลำไส้เล็ก
ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดในคนที่เป็นเบาหวานและลดระดับคอเลสเตอรอล-อาร์ติโชคสด
natural diuretic - ขับน้ำที่ร่างกายไม่ต้องการ
มีสารไซนาริน (Synarin) สกัดมาเพื่อใช้บำรุงสุขภาพ ในยุโรปโบราณเป็นอาหารและยารักษาโรค
สรรพคุณทางยา ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ
กระตุ้นการสร้างน้ำดีของตับ ลดไขมันและคอเลสเตอรอลได้ดี ช่วยให้ระบบหลอด
เลือดและหัวใจทำงานได้ดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ปัองกันถุงน้ำดีอักเสบ 
ป้องกันตับอักเสบ สาเหตุโรคดีซ่าน (Jaundice) และโรคตับแข็ง (Cirrhosis)
ในประเทศบราซิล ใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน รักษาอาการเจ็บป่วยของตับ โลหิตจาง 
         เบาหวาน รักษาบาดแผลและเก๊าส์ เป็นต้น
ประโยชน์นั้นมีมากมาย ใช้ได้ตั้งแต่ดอก ลำต้นหน่อ ราก สามารถทำชาได้เป็นที่นิยม
ในเวียดนามนำมาทำชา ซึ่งเมืองที่ปลูกในเวียดนามนั้นคือ ดาลัท จังหวัดลามดอง
 
ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล
 1,600 เมตร บริเวณเดียวกับจังหวัดตราดของไทย ซึ่งมี
อากาศเย็นเฉลี่ย
 20 องศาเซลเซียส
อาร์ติโชค เป็นพืชที่ตลาดโลกมีความต้องการสูงและมีราคาดี เนื่องจากกระแสโลก
ในปัจจุบันเน้นและตระหนักถึงคุณภาพชีวิตและอาหารดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
อยากเห็นเกษตรกรไทยในแหล่งที่มีทำเลเหมาะสม สามารถปลูกได้สำเร็จ ผลผลิตดี   
ส่งไปขายต่างประเทศด้วย และไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ..ตัวอย่างจากโครงการหลวง
โดย a l i n_x a n a =
ข้อมูลจาก  http://www.gotoknow.org
-------------------------------------------

 สูตรวิธีดองเจ้าดอกอาร์ติโชค ที่พี่ตุ้มเคยมาลงไว้ค่ะ สาเคยทำแล้วถูกใจมากๆค่ะ 
และรูปดอกอาร์ติโชค อีกเพียบค่
หวัดดีคะพื่อนๆทุกๆคน อยากทำ ARTICHOKES กินจังเลยค๊า ใครพอจะรู้บ้างค๊า 
รูปร่างคล้ายๆหัวปลีก็ไม่ใช่จะเป็นดอกบัวก็ไม่เชิง

แต่รสชาติออกเปรี้ยวๆเค็มๆเหมือนผักดอง แต่มีน้ำมันโอลีฟ ผสมลงไปด้วยและ
เครื่องเทศต่างๆ


ไม่รู้ว่าเป็นอาหารชาติได แรกๆคิดว่าเป็นอาหารของชาติอิตาเลี่ยน
แต่พอเราไปกินร้านแขกตุรกี บางทีก็เจอ เลยไม่แน่ใจว่าชาติไหนกันแน่ ถ้าพี่ตุ้ม
เข้ามาก็ช่วยดูให้ด้วยนะค๊าว่าใช่อาหารตุรกีรึเปล่า? ถ้าใช่และพี่ตุ้มหรือเพื่อนๆ
คนไหนก็ได้ ถ้ามีสูตรก็ช่วยแปลมาให้ด้วยนะค๊า ถ้าไม่ยากจนเกินไปก็อยากจะ
ทำกินเองนะคะ และผักในรูปนี้ ที่ไทยเรามีไหมค๊า แล้วชื่อไทยเรียกว่าอะไร?
แบบว่าอยากรู้นะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

อาร์ติโชค นอกจากจะปลูกในอเมริกาเหนือ/ใต้ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ
ในยุโรปแล้วประเทศอิสราเอลเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ปลูกมากและเป็นสินค้าในรูป
อาหารเสริมบำรุงสุขภาพที่ทำรายไได้ให้กับประเทศอิสราเอลปีละไม่ใช่น้อยเลย
สำหรับประเทศไทยปัจจุบันอาร์ติโชคยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก ในอดีตเคย
มีผู้นำมาทดลองปลูก แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ประกอบกับคนไทยส่วนใหญ่
ยังไม่ค่อยรู้จักอาร์ติโชค ในขณะที่อาร์ติโชคเป็นพืชที่ตลาดโลกมีความต้องการสูง
มีราคาดี และประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากกระแส
ของโลกในยุคปัจจุบันที่ผู้บริโภคตระหนักถึงเรื่องคุณภาพชีวิตและอาหารที่ดีมี
ประโยชน์ต่อสุขภาพ อาร์ติโชค จึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรไทย ที่อยู่

บนดอยสูง น่าหันมาปลูกให้มากขึ้น หากพื้นที่เพาะปลูกมีความเหมาะสม 
…………………