วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

นี่คือกิ่งไม้หรือใบไม้กับตั๊กแตน



 ตั๊กแตนกิ่งไม้ มีอยู่ด้วยกันหลายสกุลหลายชนิด เช่น Asceles sp. ,Heteropteryx sp.
 , 
Lopaphus sp. , Orestes sp. , Phaenopharos sp. , Pylaemenes sp. , Sipyloidea sp.
Trachythorax sp. เป็นต้น พบกระจายอยู่ทั่วโลก ครั้งหนึ่งท่ามกลางความเงียบสงบ
ของธรรมชาติ ผู้เขียนยืนมองรุ่นพี่กำลังขะมักเขม้นกับการถ่ายภาพดอกไม้ จึงได้ยิน
เสียงเบาๆอยู่เหนือศีรษะ เมื่อเงยหน้าขึ้นมองก็พบว่าเป็นชิ้นส่วนของต้นไม้ยาวราว
เกือบ 10 ซม. กำลังเคลื่อนไหวไปมา แรกๆคิดว่าเป็นกิ่งไม้ที่ถูกลมพัดแกว่งไปมา
แต่แล้วมันก็ค่อยๆเคลื่อนตัวอย่างช้าๆจนอดตกใจไม่ได้ 




เมื่อดูอย่างถี่ถ้วนจึงรู้ว่าเป็นตั๊กแตนกิ่งไม้ที่มีสีและรูปร่างคล้ายกิ่งไม้มากๆ โดยมี
เปลือกห่อหุ้มลำตัวที่ดูเหมือนเปลือกไม้เป็นร่องๆ ส่วนลำตัวเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้
และบริเวณหัวมีตาและปุ่มปม ตลอดจนริ้วรอยคล้ายแผลใบ หากมันเกาะนิ่งก็ยาก
ที่จะดูรู้ได้




ตั๊กแตนใบไม้(Phyllium sp.) มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด พบกระจายอยู่ทั่วโลก เป็นแมลง
อีกชนิดหนึ่งที่สร้างความประทับใจเมื่อได้พบเห็นครั้งแรก ขณะกำลังนั่งพักหลบแดด
ใต้ร่มเงาไม้ในช่วงกลางฤดูหนาว ได้ยินเสียงดังกรอบแกรบอยู่ใกล้ตัว เมื่อเหลียวไปดู
ก็พบใบไม้สีเขียวตองอ่อน 1 ใบ ค่อยๆคืบคลานเดินผ่านกองใบไม้บริเวณพื้นตาม
ฤดูกาลที่กำลังเปลี่ยนสีสันก่อนปลิดใบหลุดร่วงหล่น เมื่อเพ่งดูใกล้ๆก็อดทึ่งไม่ได้กับ
ตั๊กแตนใบไม้ที่พรางตัวอย่างแนบเนียน โดยปีกคู่หน้าของมันมีสีและรูปร่างเหมือน
ใบไม้ รวมทั้งลวดลายบนตัวที่เหมือนกับเส้นใบของใบไม้ 




เบื้องหลังการเปลี่ยนสีของ
ตั๊กแตนใบไม้จะขึ้นอยู่กับขึ้นกับอุณหภูมิ ความชื้น
และความเข้มของแสงในสภาพ
แวดล้อมที่อาศัยอยู่ โดยการทำงานของเซลล์
Epidermis ที่อยู่เหนือผิว Cuticle 
ซึ่งจะมีเม็ดสี(Pigment Granules)คอยเคลื่อนที่
เข้าในเซลล์ เพื่อตอบสนองกับ
สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ขาที่เป็นแผ่นบางๆยังช่วย
ทำให้มีโครงสร้างกลมกลืนกับ
ใบไม้ มันหลบหนีศัตรูด้วยการอยู่นิ่งๆตามต้นไม้
บริเวณใบ ซึ่งตั๊กแตนใบไม้บางชนิด
จะมีสีเขียวทั้งหมดเหมือนใบไม้สด บางชนิด
มีสีน้ำตาลเหมือนใบไม้แห้ง 



นอกจากนั้น
เมื่อถููกศัตรูพบเห็นก็มักจะข่มขู่ให้ศัตรูตกใจกลัว ด้วยการแผ่กางปีก
ที่มีสีสัน
สวยงามซ่อนไว้ภายในออกมาจนมีขนาดใหญ่กว่าปกติถึง2เท่า พร้อมกับ
กรีดปีกให้มีเสียงดัง


        ทั้งตั๊กแตนกิ่งไม้และตั๊กแตนใบไม้..มีลักษณะเด่นประการหนึ่งที่เหมือนกัน คือ
เป็นแมลงที่ไม่ค่อยว่องไว มีการเคลื่อนที่ช้า และไม่กระโดด ในช่วงกลางวันตั๊กแตน
ทั้งสองชนิดจะเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย และแทบแยกไม่ออกจากผืนป่ารอบๆที่พวก
มันพรางตัว เพื่อให้รอดพ้นจากเหล่านักล่าตาไวผู้ใช้สายตาในการล่า ครั้นเมื่อตะวัน
ชิงพลบ ทั้งสองต่างจะสลัดคราบความเหนียมอายทิ้งไปเพื่อออกหากินตามกองใบไม้
และเศษกิ่งไม้ที่ทับถมบนพื้นป่า เมื่อนั้นเองเราจะได้ชื่นชมกับชั้นเชิงในการพรางตัว
อันเก่าแก่ของพวกมัน



       อาจกล่าวได้ว่าทั้งสองต่างพรางตัวทำให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่อยู่อาศัย อันเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ด้านการป้องกันตัว รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีของความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างสัตว์
และพืชที่มีวิวัฒนาการมานานกว่า 47 ล้านปี และทั้งสองต่างถูกนักวิชาการนำไปใช้เป็น
สื่อการเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ชีววิทยา ตลอดจนใช้ในการนันทนาการเพื่อปลูกจิต
สำนึกด้านการอนุรักษ์




      กลยุทธ์การพรางตัวของสัตว์แต่ละชนิด มันย่อมเลือกให้เหมาะสมว่าตอนนั้นจะ
เป็นนักล่าหรือผู้ถูกล่า สิ่งแวดล้อมและเป้าหมายของมันย่อมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ
การพรางตัว ว่าจะเลือกใช้กลิ่นลวงหลอก ตบตาด้วยรูปลักษณ์ที่โดดเด่น พรางกาย
ให้หายไปกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งสร้างเสียงเพื่อให้สับสน กล่าวได้ว่า
“ความ
พยายามของนักพรางกายทั้งหลายสมควรจะได้รางวัลหรือไม่นั้น ไม่มีใคร
ให้คำตอบได้ แต่การรักษาชีวิตให้คงอยู่น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด”


การเลียนแบบ

       หลายคนอาจสับสนระหว่างคำว่า“การพรางตัว”และ“การเลียนแบบ” เพราะมัน
คล้ายกันมาก บ้างก็ว่า“มันพรางตัวด้วยการเลียนแบบสัตว์อื่น” หรือ“มันเลียนแบบ
ธรรมชาติด้วยการพรางตัว”


       เคยไหมที่พบผีเสื้อบินมาเกาะใกล้ๆ มองเผินๆนึกว่าเป็นผีเสื้อชนิดหนึ่ง แต่เมื่อ
เพ่งพินิจดูให้ดีกลับเป็นผีเสื้ออีกชนิดหนึ่ง เป็นเพราะมันมีลวดลายและสีสันคล้ายกันมาก

       สงสัยบ้างไหมว่าทำไมผีเสื้อหลายชนิดถึงมีลวดลายบนปีกดูคล้ายกับตาของ
พวกกลุ่มนกฮูกนกเค้าแมว


       พฤติกรรมการเลียนแบบให้ตัวเองมีลักษณะรูปร่างหรือสีสันเหมือนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
เพื่อตบตาสัตว์ต่างๆให้เข้าใจมันผิดไป เรียกว่าการเลียนแบบ(Mimic) ซึ่งสัตว์จะเลียน
แบบกันด้วยเหตุผล 2 ข้อ คือ เพื่อให้เป็นที่สังเกตเด่นชัด และเพื่อหลบซ่อน

       เหตุผลทั้ง 2 ข้อ อาจดูขัดแย้งกัน แต่ก็เพื่อชีวิตที่อยู่รอดเป็นหลัก คำว่า“หลบซ่อน”
คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม แต่คำว่า“เพื่อให้สัตว์นักล่าเห็นเด่นชัด” เพราะมันต้องการ
ให้สัตว์ผู้ล่าเข้าใจผิด คิดว่าตัวมันมีพิษเช่นเดียวกับสัตว์ที่มันเลียนแบบมา ซึ่งผู้ล่า
เหล่านี้ต่างเรียนรู้แล้วว่าสีสันอย่างนี้กินไม่ได้



ภาพและข้อมูลโดย  natureman   Moderator แฟนพันธุ์แท้แมกโนเลีย จาก  http://www.magnoliathailand.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น