, Lopaphus sp. , Orestes sp. , Phaenopharos sp. , Pylaemenes sp. , Sipyloidea sp.
, Trachythorax sp. เป็นต้น พบกระจายอยู่ทั่วโลก ครั้งหนึ่งท่ามกลางความเงียบสงบ
ของธรรมชาติ ผู้เขียนยืนมองรุ่นพี่กำลังขะมักเขม้นกับการถ่ายภาพดอกไม้ จึงได้ยิน
เสียงเบาๆอยู่เหนือศีรษะ เมื่อเงยหน้าขึ้นมองก็พบว่าเป็นชิ้นส่วนของต้นไม้ยาวราว
เกือบ 10 ซม. กำลังเคลื่อนไหวไปมา แรกๆคิดว่าเป็นกิ่งไม้ที่ถูกลมพัดแกว่งไปมา
แต่แล้วมันก็ค่อยๆเคลื่อนตัวอย่างช้าๆจนอดตกใจไม่ได้
เมื่อดูอย่างถี่ถ้วนจึงรู้ว่าเป็นตั๊กแตนกิ่งไม้ที่มีสีและรูปร่างคล้ายกิ่งไม้มากๆ โดยมี
เปลือกห่อหุ้มลำตัวที่ดูเหมือนเปลือกไม้เป็นร่องๆ ส่วนลำตัวเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้
และบริเวณหัวมีตาและปุ่มปม ตลอดจนริ้วรอยคล้ายแผลใบ หากมันเกาะนิ่งก็ยาก
ที่จะดูรู้ได้
ตั๊กแตนใบไม้(Phyllium sp.) มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด พบกระจายอยู่ทั่วโลก เป็นแมลง
อีกชนิดหนึ่งที่สร้างความประทับใจเมื่อได้พบเห็นครั้งแรก ขณะกำลังนั่งพักหลบแดด
ใต้ร่มเงาไม้ในช่วงกลางฤดูหนาว ได้ยินเสียงดังกรอบแกรบอยู่ใกล้ตัว เมื่อเหลียวไปดู
ก็พบใบไม้สีเขียวตองอ่อน 1 ใบ ค่อยๆคืบคลานเดินผ่านกองใบไม้บริเวณพื้นตาม
ฤดูกาลที่กำลังเปลี่ยนสีสันก่อนปลิดใบหลุดร่วงหล่น เมื่อเพ่งดูใกล้ๆก็อดทึ่งไม่ได้กับ
ตั๊กแตนใบไม้ที่พรางตัวอย่างแนบเนียน โดยปีกคู่หน้าของมันมีสีและรูปร่างเหมือน
ใบไม้ รวมทั้งลวดลายบนตัวที่เหมือนกับเส้นใบของใบไม้
เบื้องหลังการเปลี่ยนสีของตั๊กแตนใบไม้จะขึ้นอยู่กับขึ้นกับอุณหภูมิ ความชื้น
และความเข้มของแสงในสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ โดยการทำงานของเซลล์
Epidermis ที่อยู่เหนือผิว Cuticle ซึ่งจะมีเม็ดสี(Pigment Granules)คอยเคลื่อนที่
เข้าในเซลล์ เพื่อตอบสนองกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ขาที่เป็นแผ่นบางๆยังช่วย
ทำให้มีโครงสร้างกลมกลืนกับใบไม้ มันหลบหนีศัตรูด้วยการอยู่นิ่งๆตามต้นไม้
บริเวณใบ ซึ่งตั๊กแตนใบไม้บางชนิดจะมีสีเขียวทั้งหมดเหมือนใบไม้สด บางชนิด
มีสีน้ำตาลเหมือนใบไม้แห้ง
นอกจากนั้นเมื่อถููกศัตรูพบเห็นก็มักจะข่มขู่ให้ศัตรูตกใจกลัว ด้วยการแผ่กางปีก
ที่มีสีสันสวยงามซ่อนไว้ภายในออกมาจนมีขนาดใหญ่กว่าปกติถึง2เท่า พร้อมกับ
กรีดปีกให้มีเสียงดัง
ทั้งตั๊กแตนกิ่งไม้และตั๊กแตนใบไม้..มีลักษณะเด่นประการหนึ่งที่เหมือนกัน คือ
เป็นแมลงที่ไม่ค่อยว่องไว มีการเคลื่อนที่ช้า และไม่กระโดด ในช่วงกลางวันตั๊กแตน
ทั้งสองชนิดจะเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย และแทบแยกไม่ออกจากผืนป่ารอบๆที่พวก
มันพรางตัว เพื่อให้รอดพ้นจากเหล่านักล่าตาไวผู้ใช้สายตาในการล่า ครั้นเมื่อตะวัน
ชิงพลบ ทั้งสองต่างจะสลัดคราบความเหนียมอายทิ้งไปเพื่อออกหากินตามกองใบไม้
และเศษกิ่งไม้ที่ทับถมบนพื้นป่า เมื่อนั้นเองเราจะได้ชื่นชมกับชั้นเชิงในการพรางตัว
อันเก่าแก่ของพวกมัน
อาจกล่าวได้ว่าทั้งสองต่างพรางตัวทำให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่อยู่อาศัย อันเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ด้านการป้องกันตัว รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีของความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างสัตว์
และพืชที่มีวิวัฒนาการมานานกว่า 47 ล้านปี และทั้งสองต่างถูกนักวิชาการนำไปใช้เป็น
สื่อการเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ชีววิทยา ตลอดจนใช้ในการนันทนาการเพื่อปลูกจิต
สำนึกด้านการอนุรักษ์
กลยุทธ์การพรางตัวของสัตว์แต่ละชนิด มันย่อมเลือกให้เหมาะสมว่าตอนนั้นจะ
เป็นนักล่าหรือผู้ถูกล่า สิ่งแวดล้อมและเป้าหมายของมันย่อมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ
การพรางตัว ว่าจะเลือกใช้กลิ่นลวงหลอก ตบตาด้วยรูปลักษณ์ที่โดดเด่น พรางกาย
ให้หายไปกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งสร้างเสียงเพื่อให้สับสน กล่าวได้ว่า“ความ
พยายามของนักพรางกายทั้งหลายสมควรจะได้รางวัลหรือไม่นั้น ไม่มีใคร
ให้คำตอบได้ แต่การรักษาชีวิตให้คงอยู่น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด”
การเลียนแบบ
หลายคนอาจสับสนระหว่างคำว่า“การพรางตัว”และ“การเลียนแบบ” เพราะมัน
คล้ายกันมาก บ้างก็ว่า“มันพรางตัวด้วยการเลียนแบบสัตว์อื่น” หรือ“มันเลียนแบบ
ธรรมชาติด้วยการพรางตัว”
เคยไหมที่พบผีเสื้อบินมาเกาะใกล้ๆ มองเผินๆนึกว่าเป็นผีเสื้อชนิดหนึ่ง แต่เมื่อ
เพ่งพินิจดูให้ดีกลับเป็นผีเสื้ออีกชนิดหนึ่ง เป็นเพราะมันมีลวดลายและสีสันคล้ายกันมาก
สงสัยบ้างไหมว่าทำไมผีเสื้อหลายชนิดถึงมีลวดลายบนปีกดูคล้ายกับตาของ
พวกกลุ่มนกฮูกนกเค้าแมว
พฤติกรรมการเลียนแบบให้ตัวเองมีลักษณะรูปร่างหรือสีสันเหมือนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
เพื่อตบตาสัตว์ต่างๆให้เข้าใจมันผิดไป เรียกว่าการเลียนแบบ(Mimic) ซึ่งสัตว์จะเลียน
แบบกันด้วยเหตุผล 2 ข้อ คือ เพื่อให้เป็นที่สังเกตเด่นชัด และเพื่อหลบซ่อน
เหตุผลทั้ง 2 ข้อ อาจดูขัดแย้งกัน แต่ก็เพื่อชีวิตที่อยู่รอดเป็นหลัก คำว่า“หลบซ่อน”
คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม แต่คำว่า“เพื่อให้สัตว์นักล่าเห็นเด่นชัด” เพราะมันต้องการ
ให้สัตว์ผู้ล่าเข้าใจผิด คิดว่าตัวมันมีพิษเช่นเดียวกับสัตว์ที่มันเลียนแบบมา ซึ่งผู้ล่า
เหล่านี้ต่างเรียนรู้แล้วว่าสีสันอย่างนี้กินไม่ได้
ภาพและข้อมูลโดย natureman Moderator แฟนพันธุ์แท้แมกโนเลีย จาก http://www.magnoliathailand.com/