วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โคกกระออม

โคกกระออม ชื่อสามัญ Balloon vine, Heart pea, Heart seed, Smooth leaved 
Heart Pea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cardiospermum Halicacabum Linn.
จัดอยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE

สมุนไพรโคกกระออม ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ตุ้มต้อก (แพร่), วิวี่ วี่หวี่ (ปราจีนบุรี),โพออม,โพธิ์ออม(ปัตตานี), เครือผักไล่น้ำ, ลูกลีบเครือ (ภาคเหนือ), กะดอม ,โคกกระออม (ภาคกลาง),
ติ๊นโข่ ไหน (จีน), เจี่ยขู่กวา, เต่าตี้หลิง, ไต้เถิงขู่เลี่ยน(จีนกลาง), 
สะไล่น้ำ,สะไล่เดอะ

สะโคน้ำ,สะไคน้ำหญ้าแมงวี่หญ้าแมลงหวี่ เป็นต้น

                              
ลักษณะทั่วไปของต้นโคกกระออม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน มีการแพร่กระจาย
เป็นวัชพืชไปทั่วโลก ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค
โดยจัดเป็นพรรณไม้เลื้อย
หรือไม้เถาล้มลุกขนาดกลาง มีอายุราว 1 ปี ลำต้นแตกกิ่งจำนวนมาก มีเถายาว
ประมาณ 1-3 เมตร มักเลื้อยเกาะพันกันขึ้นไปบนต้นไม้หรือตามกิ่งไม้ หรืออาจ
เลื้อยไปตามพื้นดิน ลักษณะของเถาเป็นเหลี่ยมมีสันประมาณ 5-6 เหลี่ยม และ
มีขนปกคุลมเล็กน้อย ผิวของเถาเป็นสีเขียว เถามีขนาดโตเท่ากับก้านไม้ขีดไฟ
หรืออาจจะเล็กกว่านั้นก็มี และบริเวณข้อของเถาจะมีมือสำหรับยึดเกาะ ขยายพันธุ์
ด้วยวิธีการใช้เมล็ด มักเกิดขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ตามชายป่า หรือตามที่
รกร้างว่างเปล่า ริมทาง ตามริมน้ำ หรือบริเวณที่มีร่มเงา จนถึงระดับความสูงจาก
ระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร


ลักษณะของใบโคกกระออม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบใบย่อย 3 ใบ
ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเป็นหยักลึกและมี
มือเกาะสั้นๆ จะอยู่ที่ปลายยอดจะอยู่ระหว่างซอกเถาที่มีก้านช่อดอก โดยมือจับจะมี
อยู่ 2 อัน แยกกันออกจากก้านช่อดอกที่ยาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5
เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ
ไม่มีขน ใบหลังจะมีขนาดเล็กกว่า และมีก้านใบยาว


ดอกโคกกระออม ดอกออกเป็นช่อๆ มีประมาณ 3-4 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบ
ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีกลีบดอก 4-5 กลีบ ดอกมีขนาดไม่เท่ากัน ดอกยาวประมาณ
 2.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน


ผลโคกกระออม ผลมีลักษณะคล้ายกับถุงลมเป็นเยื่อบางๆ ลักษณะของผลเป็นรูป
สามเหลี่ยม มีพู 3 พู มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร
เปลือกผลบางและเป็นสีเขียวอมสีเหลือง มีขนสั้นนุ่มกระจายอยู่ทั่วผล ผลเมื่อแก่จะ
เปลี่ยนเป็นสีดำ ก้านผลสั้น ภายในผลจะมีเมล็ดขนาดเล็กประมาณ 1-3 เมล็ด


เมล็ดโคกกระออม เมล็ดมีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวโพด หรือ
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีเขียวอ่อนและค่อน
ข้างนิ่ม และเมื่อเมล็ดแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำและแข็ง ที่ขั้วเมล็ดเป็นสีขาวลักษณะ
คล้ายรูปหัวใจ



  1. ทั้งต้นมีรสขมและเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาเย็น โดยจะออกฤทธิ์ต่อตับและไต
    สามารถใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ได้ (ทั้งต้น)
  2. ช่วยแก้พิษในร่างกาย (ทั้งต้น)
  3. ช่วยทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
  4. ดอกมีรสขมขื่น ใช้เป็นยาขับโลหิต (ดอก)
  5. ใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตให้ตก (ดอก)
  6. ทั้งต้นใช้ต้มกินต่างน้ำ จะช่วยลดความโลหิตได้ (ทั้งต้น)
  7. ใช้รักษาโรคดีซ่าน (ทั้งต้น)
  8. ช่วยแก้ตาเจ็บ (ใบ)
  9. ทั้งต้นช่วยรักษาต้อตา (ทั้งต้น) น้ำคั้นจากรากสดใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตาต้อ
    (ราก) หมอพื้นบ้านจะนำรากสดๆ มาคั้นกับน้ำสะอาดใช้หยอดตาแก้ตาต้อ
    แก้เจ็บตาได้ผลดี (ราก)
  10. เมล็ดมีรสขมขื่น สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ (เมล็ด)ส่วนเถาใช้เป็นยาแก้ไข้
     รักษาไข้จับ (เถา) บ้างว่าใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)บ้างใช้ใบเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)
  11. ช่วยแก้ไข้เพื่อทุราวสา แก้ปัสสาวะให้บริบูรณ์ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  12. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (เมล็ด) บ้างว่าใช้โคกกระออมทั้ง 5 นำมาต้มกิน
    ต่างน้ำก็ช่วยขับเหงื่อได้เช่นกัน (ทั้งต้น)
  13. ใบมีรสขมขื่น ใช้แก้อาการไอ รักษาโรคหืดไอ แก้ไอหืด (ใบ)ส่วนน้ำคั้นจาก
    ใบใช้แก้อาการไอ (น้ำคั้นจากใบ)
  14. ทั้งต้นใช้ผสมกับตัวตาอื่น ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืด (ทั้งต้น) ส่วนน้ำคั้น
    จากใบสดก็มีสรรพคุณช่วยแก้หอบหืดเช่นกัน (น้ำคั้นจากใบ)
  15. รากโคกกระออมมีรสขม มีสรรพคุณทำให้อาเจียน (ราก)
  16. รากใช้เป็นยาระบาย (ราก) บ้างว่าใช้ทั้งต้นเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
  17. ช่วยรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  18. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด และใช้แก้นิ่ว โดยใช้ทั้ง
    ต้นนำมาต้มเป็นยาใช้กินต่างน้ำ (ทั้งต้น) หากใช้แก้ปัสสาวะขัดเบา ให้ใช้
    โคกกระออม และใบสะระแหน่ อย่างละประมาณ 10 กรัม นำมาต้มกับ
    น้ำประทาน (เข้าใจว่าคือต้นแห้ง) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าใบเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ)
  19. ใช้ทั้งต้นนำมาต้มให้คนแก่ที่อาการต่อมลูกหมากโตใช้กินต่างน้ำเป็นยา
    จะช่วยลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ (ทั้งต้น)
  20. ดอกมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือนของสตรี (ดอก) น้ำคั้นจากใบใช้เป็น
    ยาขับระดูของสตรี (น้ำคั้นจากใบ)
  21. ผลมีรสขมขื่น มีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี (ผล)
  22. ช่วยดับพิษทั้งปวง (ผล)
  23. ช่วยดับพิษแผลไฟไหม้ แผลไฟลวก (ผล)
  24. ใบสดใช้เป็นยาใส่แผลชั้นยอด โดยใช้น้ำต้มข้นๆ นำมาใช้ล้างแผล (ใบ)
  25. ทั้งต้นใช้แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษงู (ทั้งต้น) รากใช้ตำคั้นเอาแต่น้ำมา
    กินเป็นยาแก้พิษงู ส่วนกากที่เหลือใช้เป็นยาพอกแก้พิษงู พิษงูเห่า และ
    พิษจากแมลง (ราก)
  26. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝี กลาก เกลื้อน (ทั้งต้น)
  27. ใช้แก้ฝีบวม ฝีหนอง ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเกลือเล็กน้อย แล้ว
    นำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี (ต้นสด) ส่วนใบสดก็สามารถนำมาตำพอกรักษาฝี
    ได้เช่นกัน (ใบ)
  28. แก้รัดฐาณฝีและถอดไส้ฝี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  29. ช่วยแก้อาการปวดบวมฟกช้ำ ด้วยการใช้ต้นโคกกระออมแห้งประมาณ 10-18
     กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับเหล้าใช้รับประทาน (ต้นแห้ง)
  30. ใช้รักษาอาการอักเสบบวมตามต่างกาย โดยนำมาใบสดมาตำกับเกลือแล้ว
    ใช้ทาบริเวณที่มีอาการอักเสบบวม (ใบ)
  31. ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ทั้งต้น)
  32. ช่วยรักษาโรครูมาตอยด์ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำไปเคี่ยวกับ
    น้ำมันงา ใช้เป็นยาทาเช้าและเย็นติดต่อกันประมาณ 7 วัน อาการของโรค
    รูมาตอยด์จะค่อยๆ ดีขึ้น (ใบ)
  33. แพทย์แผนจีนจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับน้ำนม ทำให้เกิดน้ำนม
     และยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี (ทั้งต้น)
ภาพและข้อมูลจาก http://frynn.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น