วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

ดอกผีเสิ้อ

ดอกผีเสื้อ 

ชื่อวิทยาศาสตร์     Dianthus chinensis
ชื่อวงศ์          CARYOPHYLLACEAE
ชื่อสามัญ      Dianthus
ชื่ออื่นๆ     Pink, Indian pink, China pink, Rainbow pink, ผีเสื้อ
ถิ่นกำเนิด อยู่ในยุโรปตอนใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ปักชำกิ่ง, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ความสูง 6 – 12 นิ้ว
จำนวนเมล็ดในหนึ่งกรัม= 900 – 1100  เมล็ด
สี ชมพู ม่วง แดง ขาว
เวลาจากเพาะเมล็ดจนให้ดอก 3 เดือน

ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ผีเสื้อเป็นไม้ดอกสกุลเดียวกับ คาร์เนชั่น มีดอกสวยงามสะดุดตา ส่วนใหญ่มีดอกสีชมพู จึงได้ชื่อว่า pink ผีเสื้อ กับ คาร์เนชั่น นั้นมีข้อแตกต่างที่พอจะใช้สังเกตได้คือ
ดอกผีเสื้อไม่มีกลิ่น
ใบของผีเสื้อมีแผ่นใบกว้างกว่าของคาร์เนชั่น
ใบของคาร์เนชั่นจะมีสีเขียวอมเทาเงิน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผีเสื้อเป็นไม้พุ่มเล็กสูงประมาณ 10-15 นิ้ว ใบมีสีเขียวแก่ ลักษณะใบยาวปลายเรียวแหลม ขอบใบทั้งสองข้างมักจะโค้งเข้าหากลางใบเล็กน้อย ทำให้มีลักษณะคล้ายร่องน้ำ ใบออกเป็นคู่แบบสลับ โดยใบจะหุ้มรอบข้อทำให้ส่วนข้อมีลักษณะบวมโต ดอกมีทั้งชนิดดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะจักๆ คล้ายฟันปลาหรือฟันเลื่อย กลีบหุ้มดอก มีลักษณะรวมติดกันเป็นกรวยหุ้มกลีบดอกไว้ ดอกมีขนาดตั้งแต่ 2.5-3 นิ้ว สีของดอกมีหลายสี คือ ขาว ชมพู แดง แดงอมม่วง และอาจมีสองสีในดอกเดียวกัน
พันธุ์ที่ใช้ปลูกมีหลายพันธุ์เช่น
พันธุ์ Bravo ดอกมีสีแดงเข้ม
พันธุ์ China Doll ดอกสีแดงเข้มแต้มขาว กลีบดอกซ้อน
พันธุ์ Snowflake ดอกสีขาว
พันธุ์ Snowfire เป็นลูกผสม ดอกมีสองสี คือ มีสีขาวเป็นพื้น ตรงใจกลางดอกมีสีแดง
พันธุ์ ในชุด Charm siries คือ Coral Charm มีสีชมพู, Crimson Charm มีสีแดง, White Charm มีสีขาว, Light Charm มีสีชมพูอ่อน

การปลูกและดูแลรักษา
แต่เดิมผีเสื้อเป็นไม้ดอกที่ต้องการอากาศเย็นมาก ปัจจุบันนี้มีหลายพันธุ์ที่พอทนอากาศร้อนได้ ดินที่ปลูกควรเป็นดินที่สมบูรณ์ดี พันธุ์เก่าๆ ใช้เวลาจากเพาะเมล็ดจนให้ดอกค่อนข้างนานคือ 3 เดือน นักผสมพันธุ์พืชได้สร้างพันธุ์ใหม่ๆ ที่เริ่มให้ดอกตั้งแต่อายุ 2 เดือน เมื่อดอกบานสะพรั่งแล้วสวยงามมากและต้นสามารถให้ดอกไปได้อีกนานเป็นเดือน ต้นแตกกอได้โดยไม่ต้องเด็ดยอด พวกดอกชั้นเดียวให้ดอกพราวมากกว่าพวกดอกซ้อน ดอกมีทั้งสีพื้นและมีลายสีอื่นตัดกับสีพื้นของกลีบดอก ปลายกลีบดอกมีทั้งเรียบ เป็นคลื่น หรือหยักเหมือนฟันเลื่อย เมื่อดอกเหี่ยวควรรีบเด็ดออกจะทำให้น่าดูขึ้นเพราะต้นมีดอกดก การมีดอกเหี่ยวปนกับดอกที่เพิ่งบานทำให้ไม่สวยเท่าที่ควร
ขณะที่ต้นกำลังเติบโต ถ้าอากาศร้อนหรืออุณหภูมิสูงต้นจะยืดไม่กะทัดรัด ไม่ควรให้ปุ๋ยแอมโมเนียม เพราะจะเกิดปลายใบไหม้ได้ง่าย

ผีเสื้อชอบแสงแดดจัด อุณหภูมิกลางคืนเย็นแต่ก็ไม่จำเป็นต้องเย็นมาก สามารถปลูกได้ในกรุงเทพฯ ดินปลูกต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารครบครัน โปร่ง มีอินทรียวัตถุสูง ถ้าต้องการดอกที่มีขนาดสม่ำเสมอ ดอกดกและดอกบานพร้อมๆ กัน ควรเด็ดยอดออก โดยทำการเด็ดยอดเมื่อต้นสูงประมาณ 6 นิ้ว หรืออาจเด็ดหลังจากปลูกได้ประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นต้นจะแตกกิ่งก้านทำให้พุ่มต้นใหญ่ขึ้น ระยะเวลาจากเพาะเมล็ดถึงให้ดอกประมาณ 3 เดือน

ข้อมูลจาก http://www.suanattaporn.com/

มะนาวผสมส้มโอ ที่ตรัง น้ำมากและเปลือกกินได้


นายประสิทธิ์ จิตสุวรรณ กรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนยีหมู่ที่ 8 บ้านลำขนุน ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง  ได้พาผู้สื่อข่าวไปชมมะนาวสายพันธุ์ใหม่ของประเทศไทย  โดยชื่อว่า พันธุ์ศรีทองดำ หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า พันธุ์แก้ขัด  ซึ่งได้มาจากการนำยอดมะนาวสายพันธุ์ตาฮิติ จากจังหวัดนครนายก มาเสียบข้าง หรือเสียบฝาก ลงไปยังกิ่งส้มโอสายพันธุ์ปัตตาเวีย จากจังหวัดนครปฐม  ปรากฎว่า หลังจากนั้น 2 เดือน มะนาวก็เริ่มตกดอก และติดผลในเวลาต่อมา

โดยมะนาวสายพันธุ์นี้มีจุดเด่นที่แตกต่างไปมะนาวอื่นๆ ก็คือ ใบมีลักษณะเรียวใหญ่ และมีเปลือกผลอ่อนนุ่มเหมือนกับส้มโอ  อีกทั้งผลก็ยังมีขนาดโตกว่ามะนาวทั่วไป และมีผลชุกช่อละ 8-10 ลูก  แต่ที่แปลกที่สุดก็คือ สามารถนำเปลือกมารับประทานได้ โดยไม่มีรสขมเหมือนมะนาวอื่นๆ แถมมีรสชาติหวานมัน และมีกลิ่นหอม  ทำให้สามารถคั้นน้ำได้เยอะ จึงประหยัดและนำไปปรุงอาหารได้อย่างหลากหลาย  ขณะที่น้ำก็ยังมีความเปรี้ยวเหมือนกับมะนาวทั่วไปด้วย

  นอกจากนั้น มะนาวสายพันธุ์นี้ยังสามารถนำไปปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นกลางแจ้ง หรือในร่ม  แม้กระทั่งนำไปปลูกใส่กระถางก็ยังสามารถออกดอกออกผลได้เป็นอย่างดี  จึงเหมาะสำหรับการมีไว้กินไว้ใช้ในทุกๆ ครัวเรือน  มะนาวสายพันธุ์นี้จะเป็นทางเลือกใหม่ของชาวบ้านในอนาคต  เนื่องจากใช้ระยะเวลาปลูกแค่ 8 เดือน ก็ให้ผลผลิตแล้ว ต่างจากมะนาวทั่วไปที่ใช้ระยะเวลาปลูกถึง 1 ปี  ส่วนผลที่ออกมาแต่ละช่อก็มีปริมาณมากกว่า และจะออกดอกต่อเนื่องทั้งปีแม้ในหน้าแล้ง

ภาพและข้อมูลจาก http://www.khaosod.co.th/

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

พื้นที่ไร่ครึ่งปลูกพืช 10 ชนิด สร้างรายได้เดือนละครึ่งแสน

นครปฐม 7 เม.ย.-พื้นที่ไร่ครึ่งของเกษตรกรใน จ.นครปฐม สร้างรายได้เฉลี่ยเดือนละครึ่งแสน
จากการทำเกษตรประณีต ใช้เคมีน้อย โดยปลูกพืช 10 ชนิดเต็มพื้นที่เป็นชั้นๆ สลับเก็บผลผลิต
หมุนเวียนขาย มีรายได้รายวัน-รายเดือนตลอดปี





ต้นสักทอง 700 ต้นปลูกเป็นแนวให้ต้นพลูได้เกาะเกี่ยว เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และสูงตามต้นสัก
ให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกต้นพลูเกาะต้นทองหลางแบบเดิม เกษตรกรชัยยาบอกว่า ต้นทองหลาง
ขึ้นรกและไม่ให้ประโยชน์ ส่วนต้นสักใบใหญ่ให้ร่มเงาดี ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้านล่างยังสามารถปลูก
ส้มโอ มะนาว และใบชะพลูได้เต็มพื้นที่ไร่ครึ่ง รดน้ำให้ปุ๋ยครั้งเดียวก็ถึงพืชทุกชนิด และได้ผลผลิต
หมุนเวียนขาย โดยชะพลูเก็บขายได้ทุกวัน วันละ 30-40 กิโลกรัม ส่วนใบพลูให้รายได้ทุกเดือน


ร่องสวนปลูกเตยหอม รอบบ้านปลูกผักสวนครัว เช่น พริก กะเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่
ทั้งหมดใช้ปุ๋ยชีวภาพและสารสกัดธรรมชาติไล่แมลง เก็บขายได้ทุกวัน ส่งให้แม่ค้าในหมู่บ้าน
ไปจำหน่ายในตัวเมืองนครปฐม รวมปลูกพืช 10 ชนิด ให้รายได้เฉลี่ยเดือนละ 50,000-
60,000 บาท


กำนันตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี ยกสวนนี้เป็นตัวอย่างการทำเกษตรประณีตแบบธรรมชาติ
ใช้สารเคมีน้อย ปลูกพืชหลากหลายชนิดในแปลงเดียวกัน ซึ่งช่วยลดต้นทุน ใช้ประโยชน์ที่ดิน
อย่างเต็มที่ และสร้างรายได้ต่อเนื่อง เหมาะกับตำบลแหลมบัว ซึ่งเป็นพื้นที่ดินดำน้ำชุ่ม หาก
เกษตรกรทุกรายยึดแนวทางจะไม่เป็นหนี้ และไม่จำเป็นต้องขายที่ทำกิน


ข้อมูลละภาพจาก  http://hot.ohozaa.com/

ปลูกตะไคร้ สร้างรายได้เงินล้านในพริบตา

เมื่อ“หนุ่มวิศวกร” เบนเข็มทำเกษตรปลูกตะไคร้ สร้างรายได้เงินล้านในพริบตา

'ตะไคร้' พืชผักที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพราะด้วยสรรพคุณมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการนอนไม่หลับ อื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ตะไคร้ได้ถูกจัดอยู่ในหนึ่งของสมุนไพร ที่แพทย์แผนไทยนำมาใช้ช่วยบำบัดรักษาอาการของโรคต่างๆ
วันนี้ไม่ได้มาพูดถึง ผลิตภัณฑ์จากตะไคร้ แต่กำลังพูดถึงเกษตรกรที่ปลูกตะไคร้ เพราะที่ผ่านมาตะไคร้เป็นหนึ่งในพืชผักสมุนไพรที่มีการส่งออกอยู่ในอันดับต้นๆ ดังนั้น ความต้องการของตลาดจึงมีสูง ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกตะไคร้กันมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง และหนึ่งในนั้น กำลังพูดถึงหนุ่มวิศวกรที่ผันตัวเองออกมาทำการเกษตร และเขาก็เลือกปลูกตะไคร้บนพื้นที่กว่า 100 ไร่
ทั้งนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่า วิศวกรเงินเดือนเฉียดแสน แต่เลือกมาปลูกตะไคร้ เขาคิดอย่างไร และเขาคิดผิดหรือถูก วันนี้เราจะมาฟัง “คุณพยนต์ มูลเกิด” ได้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดที่หันมาทำการเกษตร และเลือกปลูกตะไคร้บนพื้นที่กว่า 100 ไร่นั้น คุ้มหรือไม่ กับพืชที่เกษตรกรมองว่าเป็นพืชผักราคาถูก ปลูกแล้วโอกาสรวยยาก

พยนต์” เล่าว่า ได้เริ่มต้น ปลูกตะไคร้จากความคิดที่ว่า เป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกอย่างไรก็ได้กิน และตลาดก็ไปได้ เพราะจากการสำรวจที่ตลาดสด ตะไคร้ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ แม้ว่าราคาจะไม่ได้สูงมากนัก ในช่วงบางเวลาถือว่าต่ำกว่าพืชผักอื่นๆ เพราะโดยส่วนตัวครอบครัวของผมทำการเกษตรอยู่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ก็ทำสวนส้มรังสิต แต่พอเจอปัญหาน้ำท่วม ผลผลิตเสียหายหมด เลยเลิกปลูก ซึ่งผมเองก็ทำงานประจำอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง เรียนจบด้านวิศวกรรม และทำงานด้านนี้มาตลอด 10 กว่าปี ตลอดระยะเวลาการทำงานที่ต้องอยู่กับปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 ออกมาทำงาน รู้สึกเบื่อหน่าย มองว่างั้นลองกลับมาทำการเกษตรที่บ้าน เพราะเราก็พอมีพื้นที่ของครอบครัวอยู่แล้ว ก็น่าที่จะปลูกอะไรขายได้

ทั้งนี้ ที่สำคัญบ้านซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับตลาดขายส่งสินค้าเกษตร อย่าง ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง สามารถที่จะนำสินค้าเกษตรของเราไปส่งขายเองได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ราคาจะสูงกว่าเกษตรกรที่ต้องมีคนกลางไปรับซื้อ และที่เลือกปลูกตะไคร้ เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก และที่สำคัญไม่ต้องพึ่งยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีอะไรมากนัก จึงตัดสินใจปลูกตะไคร้

หลังจากตัดสินใจปลูกตะไคร้ และนำตะไคร้ไปขายที่ตลาดไท ตรงจุดนี้เองทำให้ได้รู้จักกับโรงงานที่รับตะไคร้ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งมีอยู่หลายโรงงานและมีความต้องการตะไคร้อยู่อีกเป็นจำนวนมาก ตรงจุดนี้เอง ทำให้ตัดสินใจเช่าพื้นที่รังสิตคลอง 13 จำนวน 100 ไร่ ปลูกตะไคร้ เพื่อป้อนให้โรงงานที่ส่งออกตะไคร้ ปัจจุบันมีลูกค้าที่เป็นโรงงานส่งออกตะไคร้ที่สั่งซื้อตะไคร้จากเราจำนวน 4 ถึง 5 โรงงาน แต่ละโรงงานจะมีความต้องการตะไคร้ วันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 500-1,000 กิโลกรัม ซึ่งการจัดส่งในแต่ละโรงงานจะหมุนเวียนกันไปแต่ละวัน

นอกจากการส่งตะไคร้ขายโรงงาน 4-5 แห่ง ยังมีลูกค้ารายอื่นๆ อย่าง ตลาดไท ซึ่งต้องใช้ตะไคร้ส่งตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง ถึงวันละ 1,000 กิโลกรัม และยังมีลูกค้าจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสั่งตะไคร้จากเราวันหนึ่งประมาณ 1,000 กิโลกรัมเพื่อนำไปส่งขายที่ประเทศมาเลเซีย ดังนั้น ในแต่ละวันจะต้องผลิตตะไคร้ให้ได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม ไปจนถึง 5,000 กิโลกรัม

สำหรับในส่วนของกำลังการผลิต บนพื้นที่ 100 ไร่นั้นผลิตตะไคร้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม เป็นแบบสลับหมุนเวียนเพื่อให้สามารถมีตะไคร้ออกขายได้ทุกวัน และยังมีพื้นที่ของตัวเองอีก 20 ไร่ ตรงนี้ประมาณ 500-800 กิโลกรัมต่อวัน และที่เหลือเราจะใช้การรับซื้อจากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ได้จำนวนและออเดอร์ที่ต้องการในแต่ละวัน

พอถามถึงรายได้ คุณพยนต์เล่าว่า รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนออเดอร์ที่สั่งในแต่ละวัน วันหนึ่งมีออเดอร์ 3,000 กิโลกรัม ขายได้กิโลกรัม 10 บาทสำหรับตลาดทั่วไป แต่ถ้าเป็นโรงงานจะให้ 15 บาท ดังนั้น รายได้ ต่อวันประมาณ 30,000 บาท ถึง 50,000 บาท กำไร หักค่าคนงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าขนส่ง ปุ๋ยเคมีบ้างเล็กน้อย เพราะส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งผลิตเอง และค่าเช่าที่ไร่ละ 2,500 บาทต่อปี ดังนั้น หักค่าใช้จ่ายเหลือกำไรประมาณ 50% ซึ่งถ้าเป็นรายได้ต่อเดือนประมาณ 200,000 บาท ถึง 300,000 บาท ต่อปีรายได้รวมหลักล้านบาท แน่นอนเป็นรายได้ที่มากกว่าการทำงานประจำ การตัดสินใจลาออกจากงานและมาทำในครั้งนี้ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
“พยนต์” บอกถึงราคาตะไคร้ว่า เหมือนพืชผักอื่นๆ ราคาไม่แน่นอน เพราะถ้าเป็นช่วงที่ตะไคร้ไม่โตอย่างช่วงหน้าแล้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคาสูงขึ้น บางครั้งเคยสูงถึงราคากิโลกรัมละ 25 บาท ช่วงนั้นจะได้กำไรเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากเราผูกขาดกับโรงงาน สิ่งสำคัญคือ ต้องมีสินค้าป้อนให้โรงงานตลอดไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูไหน ด้วยเหตุนี้เอง จึงจำเป็นที่จะต้องหาเครือข่าย โดยเราจะหาเกษตรกรที่ปลูกตะไคร้ในพื้นที่ใกล้ๆ โดยไปรับซื้อตะไคร้ถึงไร่ พร้อมกับนำคนงานไปทำตะไคร้ถึงที่ ซึ่งเกษตรกรทำหน้าที่ปลูกอย่างเดียวที่เหลือ เราจะจัดการให้เสร็จ ส่วนราคาซื้อจากเกษตรกร ในช่วงปกติกิโลกรัมละ 7-8 บาท แต่ถ้าราคาเพิ่ม เราก็เพิ่มให้ตามราคาที่พ่อค้าทั่วไปซื้อ

ส่วนตะไคร้ ที่ปลูกเลือกตะไคร้พันธุ์เกษตร เพราะมีลำต้นที่อ้วนอวบ เป็นที่ต้องการของตลาด และโตเร็ว ปลูกง่าย เพราะการส่งขายให้โรงงานที่ส่งออกตะไคร้จะต้องคัดเกรดตะไคร้ ได้ขนาดอย่างที่ต้องการ และต้องลดการใช้สารเคมี ใช้ได้ในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งเกษตรกรที่เป็นเครือข่ายก็ต้องปฏิบัติตามด้วยเพื่อจะได้มาตรฐานคุณภาพเดียวกัน
ภาพและข้อมูลจาก  http://thai.onzorn.com/